กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ โรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระใส่ใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3015-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,616.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 16,616.00
รวมงบประมาณ 16,616.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มีนักเรียนโรงเรียนบ้าน ปะกาลิมาปุโระ ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 1 ต่อนักเรียนทั้งหมด โรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนและนักเรียนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน/ชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียน และบุคลากร ทางการศึกษา ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง 2. เพื่อให้นักเรียน และบุคลากร ทางการศึกษา มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 3. เพื่อให้นักเรียนและบุคลากร ทางการศึกษา เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  1. นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนบ้านปะกาลิมาปุโระร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม และทำให้เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,616.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 15 ก.ย. 65 1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่ข้อง 3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อ 4. อบรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 ก 0 16,616.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง 2.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 3.ผู้เข้าอบรมเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ