กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร


“ โครงการคลินิกฟุตบอล เสริมสร้างสุขภาพเยาวชนท้องถิ่น ”

ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวเจ๊ะฮาซียะ เจ๊ะยูโซ๊ะ

ชื่อโครงการ โครงการคลินิกฟุตบอล เสริมสร้างสุขภาพเยาวชนท้องถิ่น

ที่อยู่ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-L4120-02-02 เลขที่ข้อตกลง 01/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคลินิกฟุตบอล เสริมสร้างสุขภาพเยาวชนท้องถิ่น จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคลินิกฟุตบอล เสริมสร้างสุขภาพเยาวชนท้องถิ่น



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคลินิกฟุตบอล เสริมสร้างสุขภาพเยาวชนท้องถิ่น " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 65-L4120-02-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2565 - 31 มีนาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 48,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กระแสการออกกำลังกายของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ กำลังเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่มาแรง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาหลักๆ อย่างฟุตบอล หรือการออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรง เช่น เข้าฟิตเนส เล่นโยคะ และที่เป็นที่นิยมมากๆ ในหมู่เยาวชนก็คือ การเล่นฟุตบอล ฯลฯ แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่สร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายและจิตใจ แต่ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น หากออกกำลังกายไม่ถูกวิธี หรือออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไป หรือเกินความเหมาะสมที่ร่างกายของตนเองเองรับได้ อาจนำพาให้ท่านมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกัน สิ่งที่ผู้ออกกำลังกายส่วนใหญ่มองข้ามนั้นก็คือการยืดเหยียดก่อนจะออกกำลังกาย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในการออกกำลังกาย เพราะเป็นการวอร์มร่างกายหรือปรับสภาพร่างกายให้พร้อมต่อการออกกำลังกายซึ่งถือเป็นการลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายเป็นการกระตุ้นระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดโดยรวม ให้ร่างกายพร้อมที่ทำงานมากขึ้นกว่าปกติ

กีฬา “ฟุตบอล” ถือเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ของเยาวชนตำบลบ้านแหร ที่ใช้ช่วงเวลาว่างจากการทำงาน จากการเรียน มาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ พบปะสังสรรค์ และสานสัมพันธ์ระหว่างกันภายในและภายนอกชุมชน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา จึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (14) การส่งเสริมกีฬา (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว จัดทำโครงการ “คลินิกฟุตบอล เสริมสร้างสุขภาพเยาวชนท้องถิ่น” ขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลบ้านแหร ได้มีความรู้ความเข้าใจในการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ถูกวิธี และปลอดภัย สามารถประเมินความเหมาะในการออกกำลังกายของตนเองได้ อีกทั้งเพื่อให้เยาวชนได้รับประโยชน์จากออกกำลังกายและเห็นคุณค่าของกีฬา และหันมาเล่นกีฬามากขึ้นนั้นเอง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการเล่นกีฬาที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  2. 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ถูกวิธี ปลอดภัยห่างไกลโรค
  3. 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้เห็นคุณค่าของการเล่นกีฬา และหันมาเล่นกีฬามากขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่องเทคนิคการเล่นกีฬาที่ถูกวิธี ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  2. กิจกรรมฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลอย่างถูกวิธี จากโค้ชมืออาชีพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจเทคนิคการเล่นกีฬาที่ถูกวิธีและปลอดภัยต่อสุขภาพ
  2. ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ถูกวิธี ปลอดภัยห่างไกลโรค
  3. เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าของกีฬา และหันมาเล่นกีฬามากขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่องเทคนิคการเล่นกีฬาที่ถูกวิธี ปลอดภัยต่อสุขภาพ

วันที่ 5 มีนาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

บรรยายให้ความรู้ เรื่องเทคนิคการเล่นกีฬาที่ถูกวิธี ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยวิทยากรมืออาชีพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าอบรม ร้อยละ 90 มีความรู้ เรื่องเทคนิคการเล่นกีฬาอย่างถูกวิธี ปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

30 0

2. กิจกรรมฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลอย่างถูกวิธี จากโค้ชมืออาชีพ

วันที่ 6 มีนาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 5 - 6 มีนาคม 2565 ฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลอย่างถูกวิธี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้ารับการอบรม ร้อยละ 90 มีทักษะในการเล่นกีฬาอย่างถูกวิธี ปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการเล่นกีฬาที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับอบรมมีความรู้ความเข้าใจ วิธีการเล่นกีฬาที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ
80.00 90.00

 

2 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ถูกวิธี ปลอดภัยห่างไกลโรค
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับอบรมมีทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ถูกวิธี ปลอดภัยห่างไกลโรค
80.00 90.00

 

3 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้เห็นคุณค่าของการเล่นกีฬา และหันมาเล่นกีฬามากขึ้น
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมเห็นคุณค่าของการเล่นกีฬา และหันมาเล่นกีฬามากขึ้น
80.00 95.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 30
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการเล่นกีฬาที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ (2) 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลที่ถูกวิธี  ปลอดภัยห่างไกลโรค (3) 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้เห็นคุณค่าของการเล่นกีฬา และหันมาเล่นกีฬามากขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่องเทคนิคการเล่นกีฬาที่ถูกวิธี ปลอดภัยต่อสุขภาพ (2) กิจกรรมฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลอย่างถูกวิธี จากโค้ชมืออาชีพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการคลินิกฟุตบอล เสริมสร้างสุขภาพเยาวชนท้องถิ่น จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-L4120-02-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวเจ๊ะฮาซียะ เจ๊ะยูโซ๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด