กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง


“ โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิต ”

ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางกันยา รัตนสุภา

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิต

ที่อยู่ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 2565 – L7161 – 2 – 38 เลขที่ข้อตกลง 16/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 19 กันยายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิต จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิต



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิต " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 2565 – L7161 – 2 – 38 ระยะเวลาการดำเนินงาน 19 กันยายน 2565 - 31 ธันวาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 23,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาลำดับต้นๆของประเทศ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ทุกชนิด และจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2554 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1ใน10 ของประชาชน ในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีปัจจัยมาจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่การบริโภค เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มี จำนวนเพิ่มขึ้น และจากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกพบผู้ป่วยในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายในการดูแลสุขภาพประชาชน เพื่อ ป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เหล่านี้โดยการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุม ปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะ คิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค จากการปฏิบัติงาน ของกลุ่มอสม.ชุมชนเพลินจิต พบว่าปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง พบว่าปี 2564 มีประชากรในชุมชนทั้งหมดจำนวน 427 คนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 193 ราย พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 16 ราย คิดเป็นร้อย 8.29 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.22ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 193 ราย พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.63 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.08 (ข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุขสวนน้ำฯ วันที่ 14 กันยายน 2565) และจากการปฏิบัติงานยังพบอีกว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ขาดการป้องกัน ควบคุม รักษาอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องมีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคไต หัวใจ อัมพฤก อัมพาต จนเกิดความพิการทางด้านร่างกายสูญเสียสุขภาวะตามมา
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มอสม.ชุมชนเพลินจิต ได้เล็งเห็นถึงอันตรายของโรคดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิตขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพให้แกนนำสุขภาพและประชาชนชุมชนในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชนได้รับการส่งต่อ และรักษาได้ทันท่วงที อนึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ ทุพพลภาพ จากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาได้ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างศักยภาพให้แกนนำสุขภาพและประชาชนชุมชนในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
  3. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชนได้รับการส่งต่อ และรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการขาดสุขภาวะ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ติดตามผล ประเมินผล กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในรอบ 3 เดือน
  2. จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เครื่องวัดส่วนสูง
  3. อบรมให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปและแกนนำสุขภาพ
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 193
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
แกนนำสุขภาพ และประชาชนในชุมชน 40

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำสุขภาพและประชาชนชุมชนมีศักยภาพในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากแกนนำสุขภาพและประชาชนที่มีความรู้และศักยภาพ และได้รับความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรค 3. กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ได้รับการส่งต่อ และรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการขาดสุขภาวะ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เครื่องวัดส่วนสูง

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล
ที่วัดส่วนสูง เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด แถบตรวจน้ำตาล เข็มเจาะ สายวัดรอบเอว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง 2.ได้เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง
3.ได้ที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 อัน 4.ได้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง 5.ได้แถบตรวจน้ำตาล จำนวน 4 กล่อง 6. ได้เข็มเจาะ จำนวน 1 กล่อง 7.ได้สายวัดรอบเอว จำนวน 10 เส้น

 

0 0

2. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง

วันที่ 5 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อสร้างศักยภาพให้แกนนำสุขภาพและประชาชนในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันสูงและโรคเบาหวาน  มีตัวชี้วัดผู้เข้ารับการอบรมมีศักยภาพสามารถคัดกรองและให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง
-ผลการทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรม ก่อนการอบรม
พบว่า มีความรู้ร้อยละ 43.50 อยู่ในระดับปานกลาง มีความรู้ร้อยละ 56.50อยู่ในระดับน้อย อาจเนื่องจากยังไม่มีความรู้และความเข้าใจในความดันสูงและโรคเบาหวานเท่าที่ควร และเกิดจากความเชื่อ และพฤติกรรมที่ปลูกฝังมาจากเดิม
-ผลการทดสอบความรู้ หลังการอบรม พบว่า มีความรู้ร้อยละ 83.50 อยู่ในระดับมาก มีความรู้ร้อยละ 16.50 อยู่ในระดับปานกลาง อาจเนื่องจากผู้รับการอบรมไม่เข้าใจคำถาม สรุป บรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในประชาชน กลุ่มเสี่ยงในชุมชน มีตัวชี้วัดร้อยละ80 ของกลุ่มเป้าหมาย 193 คน จากการดำเนินการ พบว่า
มีกลุ่มเสี่ยงมารับบริการ จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 30.57 -ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 59 ราย ปกติจำนวน 42 ราย
กลุ่มเสี่ยง 0 ราย และสงสัยป่วย 17 ราย
-ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 59 ราย ปกติ จำนวน  41 ราย
กลุ่มเสี่ยง จำนวน 0 ราย  และสงสัยป่วยจำนวน 18 ราย สรุป ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ข้อที่ 2 เนื่องจากระหว่างการดำเนินการกลุ่มเสี่ยงไม่อยู่ในพื้นที่ และสภาพอากาศมีฝนตกทุกวัน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันห้วงเวลาที่กำหนด ซึ่งจะดำเนินการต่อในห้วงเวลาถัดไป วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชนได้รับการส่งต่อและรักษาได้ทันท่วงทีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลการขาดสุขภาวะ ร้อยละ 100 ของกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาได้ทันท่วงที ผลการดำเนินงาน ส่งต่อผู้สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 0 ราย สงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน  0 ราย

 

0 0

3. อบรมให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปและแกนนำสุขภาพ

วันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้สร้างศักยภาพแก่แกนนำสุขภาพและประชาชนในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การอบรมโครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิต ได้ตั้งกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างศักยภาพให้แกนนำสุขภาพและประชาชนชุมชนในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีศักยภาพสามารถคัดกรองและให้ความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง
10.00 40.00

 

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
ตัวชี้วัด : .ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองและได้รับความรู้จากผู้เข้ารับการอบรม
0.00 0.00

 

3 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชนได้รับการส่งต่อ และรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการขาดสุขภาวะ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ100 ของ กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ ได้รับการส่งต่อและรักษาได้ทันท่วงที
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 233
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 0
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 193
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
แกนนำสุขภาพ และประชาชนในชุมชน 40

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างศักยภาพให้แกนนำสุขภาพและประชาชนชุมชนในการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน (2) เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน (3) เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชนได้รับการส่งต่อ และรักษาได้ทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการขาดสุขภาวะ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ติดตามผล ประเมินผล กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในรอบ  3 เดือน (2) จัดซื้อวัสดุประกอบการอบรม และครุภัณฑ์เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล เครื่องวัดส่วนสูง (3) อบรมให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปและแกนนำสุขภาพ (4) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเพลินจิต จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 2565 – L7161 – 2 – 38

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางกันยา รัตนสุภา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด