กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6895-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชรี หยังหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชาชนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ล้วนให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเริ่มการพัฒนาคนตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนรุ่นใหม่เป็นคนที่มีคุณภาพทั้งทางร่างกายและสติปัญญา โดยให้ความสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กอย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ ในประเทศไทยการพยายามที่จะพัฒนาศักยภาพของคนไทยได้ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลายาวนาน การส่งเสริมให้คนเกิดมามีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพคนที่สำคัญอันดับแรก รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน  ส่งเสริมให้คนเกิดมามีสุขภาพที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา  ในการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่ได้ดีในระดับหนึ่ง  อย่างไรก็ตามยังพบว่า การดำเนินการยังไม่ครอบคลุม การส่งเสริมสุขภาพให้คนเกิดมามีสุขภาพดี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดูแลสุขภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การคลอด และหลังคลอด ทารกแรกคลอดต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องมีความรู้ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง จากข้อมูลด้านสาธารณสุข ยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลเมืองกันตังบางส่วนยังไม่ให้ความสำคัญกับการดูแลตนเอง ขาดความรู้ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง และไม่ได้รับบริการฝากครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐานและต่อเนื่อง รวมทั้งบางคนมีปัญหาด้านสุขภาพส่งผลให้ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กด้านต่างๆ ตามมา ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ  หญิงตั้งครรภ์ และมารดา-ทารกหลังคลอด จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2566 ขึ้น  เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง รวมทั้งทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน/หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ /ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

2 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

3 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 13,375.00 2 13,375.00
21 มิ.ย. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 100 10,175.00 9,859.00
21 ก.ค. 66 กิจกรรมการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ 0 3,200.00 3,516.00
  1. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุมชน เพื่อประสานกลุ่มเป้าหมาย ในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง โรงพยาบาลกันตัง กอง/ฝ่ายต่าง ๆ ในสำนักงานเทศบาลเมืองกันตัง เพื่อขอสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น วิทยากร  อุปกรณ์และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพชุมชน เรื่อง ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลักการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เพื่อไปแนะนำประชาชน/หญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม
  5. ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐานของตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข และหญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม
  6. ติดตามเยี่ยมบ้านมารดาและทารกหลังคลอดเพื่อให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวและป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
  7. จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  8. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูแบบต่าง ๆ เช่น เอกสารความรู้ แผ่นพับ ไวนิล เผยแพร่ในชุมชน
  9. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์/ แกนนำสุขภาพชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและประเมินภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์และมีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 2.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม 3.หญิงหลังคลอดมีความรู้ในการปฏิบัติตัวและป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2565 15:06 น.