กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6895-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 24,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น และได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้คือ การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้น และหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือโรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น
โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือ      การใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี 2 ประการ คือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจำระยะยาว ตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจ ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวัง  การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย จากข้อมูลงานรักษาจากรพ.ตรัง ประจำปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีภาะสมองเสื่อม  ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 4 ราย ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากภาวะโรคสมองเสื่อม จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

ร้อยละ 100 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้รับความรู้และได้ทักษะการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดสมองเสื่อม

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสมองเสื่อม

3 เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุและผู้ดูแล

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 96 24,380.00 2 24,380.00
20 เม.ย. 66 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพชุมชน 36 4,380.00 4,590.00
30 พ.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง 60 20,000.00 19,790.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน 1.2 เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง และเสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ เช่น โรงพยาบาลกันตัง ทีมเครือข่ายสุขภาพอำเภอกันตัง เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมแกนนำสุขภาพชุมชน 12 ชุมชนๆ ละ 3 คน จำนวน 36 คน เพื่อให้ความรู้ในการตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน 2.2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน ในเรื่องการให้ความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อม และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม พร้อมประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
  2. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
  3. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สูงอายุ และผู้ดูแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2565 16:19 น.