กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายณัฐพงศ์ ควนวิไล ตำแหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-01-13 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 7 ธันวาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 66-L6895-01-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 7 ธันวาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 36,075.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการสุขภาพ การสบฟัน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ปี 2560 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 52.9 และจากการตรวจสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็ก ศพด.สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง พบว่ามีปัญหาฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 39.58 ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เช่น ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม นมปรุงแต่งรส การขาดความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลทันตสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมขวดที่ไม่เหมาะสม ร่วมกับการละเลยการทำความสะอาดช่องปากและฟันหลังดื่มนม เป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุได้ เนื่องจากเด็กอายุ 3 ปี          ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มที่ ผู้ปกครองจึงมีหน้าที่สำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่เริ่มต้น
ทั้งนี้การดูแลทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กปฐมวัยซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะเรียนอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จะเน้นที่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กเป็นหลัก เนื่องจากจะมีบทบาทและความสำคัญที่สุดในการดูแลทันตสุขภาพของบุตรหลาน หากเด็กได้รับการดูแลทันตุสภาพที่ดีก็จะทำให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี มีสุขภาพร่างกายที่ดีตามไปด้วย        อันจะส่งผลต่อระบบพัฒนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
ทางงานทันตสาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 ขึ้น          โดยจะเน้นการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อหวังกระตุ้นให้ผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลทันตสุขภาพ อันจะผลต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะที่ถูกต้อง ในการแปรงฟันให้แก่บุตรหลาน
  3. เพื่อให้นักเรียนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชอย่างทั่วถึง อันจะส่งผลต่อการป้องกันฟันผุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
  4. เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงบริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่ายเพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช
  2. กิจกรรมให้บริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่าย
  3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 75
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนได้รับความรู้และมีความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
  2. ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะที่ถูกต้อง ในการแปรงฟันให้แก่บุตรหลาน
  3. เด็กนักเรียนได้เข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช สามารถลดอัตราการเกิดฟันผุในระยะยาวได้
  4. เด็กนักเรียนที่มีปัญหาฟันผุ ได้รับการควบคุมฟันผุไม่ให้มีการลุกลามของโรค อันจะช่วยให้มีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช กิจกรรมนี้ดำเนินการในวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นการให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อวางแผนการรักษา และทาฟลูออไรด์วานิชในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ สามารถสรุปผลการดำเินงานได้ดังนี้ - เด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก  จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33  มีปัญหาฟันผุ จำนวน 21 คน  คิดเป็นร้อยละ 38.18  ไม่พบปัญหาสุขภาพช่องปาก จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 61.82
- ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช  จำนวน 43 คน  คิดเป็นร้อยละ 65.33 กิจกรรมนี้ไม่ผ่านตัวชี้วัด  เนื่องด้วยในวันที่ลงไปทำกิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเด็กหยุดเรียนบางส่วน ทำให้กลุ่มเป้าหมายน้อยกว่าที่กำหนด

 

75 0

2. กิจกรรมให้บริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่าย

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้บริการอุดฟันอย่างง่าย ในเด็กที่มีปัญหาฟันผุ (ที่ยังอุดได้)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมให้บริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่าย  ดำเนินการในวันที่ 22-23  กุมภาพันธ์ 2566 เป็นการอุดฟันอย่างง่ายด้วยวิธีการ SMART Technique สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ - เด็กที่มีปัญหาฟันผุอุดได้ จำนวน 8 คน - เด็กที่ได้รับบริการอุดฟันอย่างง่าย จำนวน 7 คน

 

20 0

3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
- บรรยายให้ความรู้ทั่วไปในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น  ความสำคัญของฟันน้ำนม อาหารกับทันตสุขภาพ การแปรงฟันที่ถูกวิธีในกลุ่มเด็กเล็ก - แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อฝึกสอน และสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีในกลุ่มเด็กเล็ก
- ประเมินความรู้ผู้ปกครองก่อนและหลังการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้ทางทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 75 คน โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง

 

75 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้ทางทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 75 คน โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากในวัยเด็กอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางและดีทุกคน และมีทักษะในการแปรงฟันแก่เด็กที่ถูกต้องทุกคน กิจกรรมนี้ ผ่านตัวชี้วัด 2. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช กิจกรรมนี้ดำเนินการในวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นการให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อวางแผนการรักษา และทาฟลูออไรด์วานิชในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ สามารถสรุปผลการดำเินงานได้ดังนี้ 2.1 เด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 มีปัญหาฟันผุ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 38.18 ไม่พบปัญหาสุขภาพช่องปาก จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 61.82 2.2 ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 65.33 กิจกรรมนี้ไม่ผ่านตัวชี้วัด เนื่องด้วยในวันที่ลงไปทำกิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเด็กหยุดเรียนบางส่วน ทำให้กลุ่มเป้าหมายน้อยกว่าที่กำหนด 3. กิจกรรมให้บริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่าย ดำเนินการในวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นการอุดฟันอย่างง่ายด้วยวิธีการ SMART Technique สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ 3.1 เด็กที่มีปัญหาฟันผุอุดได้ จำนวน 8 คน 3.2 เด็กที่ได้รับบริการอุดฟันอย่างง่าย จำนวน 7 คน กิจกรรมนี้ผ่านตัวชี้วัด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะที่ถูกต้อง ในการแปรงฟันให้แก่บุตรหลาน
ตัวชี้วัด :

 

3 เพื่อให้นักเรียนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชอย่างทั่วถึง อันจะส่งผลต่อการป้องกันฟันผุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ตัวชี้วัด :

 

4 เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงบริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่ายเพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุ
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 75 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 75 130
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน (2) เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะที่ถูกต้อง ในการแปรงฟันให้แก่บุตรหลาน (3) เพื่อให้นักเรียนได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชอย่างทั่วถึง อันจะส่งผลต่อการป้องกันฟันผุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (4) เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงบริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่ายเพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช (2) กิจกรรมให้บริการทันตกรรมอุดฟันอย่างง่าย (3) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-01-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายณัฐพงศ์ ควนวิไล ตำแหน่ง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด