กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รณรงค์และป้องกันโรคไข้เลือดออกโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6895-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 16,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อจากยุงนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะโรคติดต่อจากยุงเป็นโรคที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคติดต่อจากยุงไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นการระบาดของโรคติดต่อจากยุงส่วนมากขึ้น นิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อจากยุงที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคติดต่อจากยุงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อจากยุงจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้นโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาสจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือก่อนฤดูการระบาด และเพื่อลดความเสี่ยงต่อการไข้เลือดออกในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนตัวแทนผู้ปกครองและครูมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ร้อยละ 80 นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือกออก

2 เพื่อกระตุ้นเตือนและสร้างความตระหนักให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับสภาพแวดล้อมในอาคารเรียน ที่พักอาศัยและชุมชน

 

3 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชน

ลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือกออกในโรงเรียนไม่เกิน ร้อยละ 5

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 16,180.00 1 16,180.00
22 ส.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 75 16,180.00 16,180.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน 1.2 ประชุมครูเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.4 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำ ยากำจัดลูกน้ำยุง ด้วยปูนแดงไล่ยุงให้พร้อมและเพียงพอต่อกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน
  2. ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ

- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ คณะครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และผู้ปกครอง เรื่อง โรคไข้เลือดออกและการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือกออกในโรงเรียน และแบ่งกลุ่มสาธิต การทำปูนแดงไล่ยุง - ประเมินความรู้ ก่อน-หลัง เข้ารับอบรม กิจกรรมที่ 2 รณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก - ให้ความรู้หน้าเสาธงแก่นักเรียน เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก - นักเรียนและครูร่วมกันสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง/กำจัดยุงในโรงเรียนทุกวันศุกร์ - ขอความร่วมมือให้นักเรียน/ผู้ปกครอง ร่วมกันสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง/กำจัดยุงที่บ้าน/ชุมชน - ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้เลือดออก - รณรงค์ให้มีการใช้ปูนแดงในโรงเรียนและที่บ้าน - จัดกิจกรรม BIG CLEANING DAY ในโรงเรียนเดือนละ 1 ครั้ง 3.ขั้นติดตามและประเมินผล 1.การสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียน/ที่บ้าน (ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย) ทุกเดือน โดยนักเรียน และรายงานผลให้ครูประจำชั้นทราบ 2.ติดตามการป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้เลือดออก 4. ขั้นสรุปและรายงานผล 1.สรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ/รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อกองทุนสุขภาพฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อจากยุงในโรงเรียนและชุมชน
  2. มีกิจกรรมรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคติดต่อจากยุงอย่างต่อเนื่องในโรงเรียนและชุมชน
  3. สามารถลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชนได้ระดับหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2565 17:19 น.