กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนกอตอตือร๊ะร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L4152-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2566 - 21 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 22,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอามีน มาโซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนุชรีย์ อับดุลคานาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.5,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 มิ.ย. 2566 21 มิ.ย. 2566 20 มิ.ย. 2566 21 มิ.ย. 2566 22,400.00
รวมงบประมาณ 22,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ สำหรับข้อมูลในตำบลกอตอตือร๊ะ มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 1,149 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 5,513 คน แยกเป็นชาย 2,653 คนหญิง 2,860 คนในปี 2566 (เดือนมตุลาคม - กุมภาพันธ์ 2566 ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตอตือร๊ะ) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.42 ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำโครงการกอตอตือร๊ะร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอ
รามัน จังหวัดยะลา”เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 ลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

4 เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงกว่าปีที่ผ่านมา
  2. ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมของในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ร่วมด้วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายและรักษาความสะอาดบริเวณบ้านของตนเองและพื้นที่ใกล้เคียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 15:13 น.