กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 2566-L7161-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.เครือข่ายศูนย์บริการสาธารณสุขเมืองกิโลเมตรที่ 3 โรงพยาบาลเบตง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 78,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลซอมะ แดบ็อก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่ามีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ ๒ ปี (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๔) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง ๙๕,๐๐๐ ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ ๑๐,๐๐๐ – ๑๖,๐๐๐ รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การทีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ PCU กม.3 แกนนำสุขภาพ มีประชากรในเขตพื้นที่จำนวนชุมชนมีประชากร ทั้งหมด 9,233 คน จำนวนบ้านทั้งหมด 2,826 ครัวเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่ายังพบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2564 จำนวน - คน อัตราป่วย - ต่อแสน ,ปี 2565 จำนวน 7 คน อัตราป่วย 0.01ต่อแสน,จากสถานการณ์ในปัจจุบันแม้อัตราป่วยในปี 2565 ยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานแต่ด้วยความรุนแรงของโรค ถือว่าโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นที่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข PCU งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้ อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีส่วนร่วมรณรงค์ในการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดยุงตัวแก่ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน เทศบาลโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการ “รวมพลังพิชิตยุงลายป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข PCU กม.3 แกนนำสุขภาพ ได้เล็งเห็นถึงอันตรายและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักของการเกิดโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในประชาชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอนึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและสร้างเครือข่ายในการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก

ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันโรค  ก่อนและหลังเข้าร่วมอบรมโดยเกณฑ์ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อสร้างความร่วมมือกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่าเข็มแข็ง

ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่พบค่า HI น้อยกว่า 10

0.00
3 เพื่อให้อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงกว่าปีที่ผ่านมา

พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าที่ผ่านมา (ปี 2565)

0.00
4 เพื่อไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำในครอบครัวเดิม

เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำในครอบครัวเดิมลดลง หรือไม่เกิดเลยเมื่อเทียบกับรอบปีที่ผ่านมา  2565

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 78,900.00 2 78,900.00
15 มิ.ย. 66 จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 200 32,600.00 32,600.00
15 มิ.ย. 66 มหกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ดำเนินการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่ PCU กม.3 จำนวน 10 ชุมชน 0 46,300.00 46,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อสม. เยาวชนและประชาชนทุกชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง 2 ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 3 อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 4 ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำ ในบ้านที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกหรือสงสัยป่วยในรอบปีที่ผ่านมา 5 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 ของชุมชน โรงเรียน และวัด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2565 00:00 น.