กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชุมชนหลาโป ร่วมใจรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6895-02-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนหลาโป
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 17,590.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนหลาโป
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน11.4ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5และผู้หญิงร้อยละ 2.2โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน และเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคน ใน 20 ปีข้างหน้า
ทางกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนหลาโป ได้เล็งเห็นเล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการชุมชนหลาโป ร่วมใจรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา ปี 2566 ขึ้นเนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นความสำคัญในการลด ละ เลิก บุหรี่และสุรา

 

2 เพื่อรณรงค์และช่วยให้สมาชิกในชุมชนลด ละ เลิกบุหรี่และสุราได้

ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก

3 เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน

ไม่มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน ในปีงบประมาณ 2566

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 17,590.00 3 17,590.00
13 ก.ค. 66 กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนินงาน 15 1,000.00 1,029.00
17 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 60 14,500.00 14,299.00
18 ก.ค. 66 กิจกรรมรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่และสุราในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง 0 2,090.00 2,262.00
  1. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
  2. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่แกนนำสุขภาพ/กรรมการชุมชนหลาโป เพื่อชี้แจงกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  3. สำรวจ/ประเมินคัดกรองประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน โดยใช้แบบคัดกรองบุหรี่และสุราและจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มติดบุหรี่-สุรา ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในชุมชนทราบและให้ความร่วมมือเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน จำนวน 60 คน ณ อาคารคอซิมบี้ เทศบาลเมืองกันตัง ในเรื่องพิษ ภัยของบุหรี่ และสุรา ขั้นตอนการเลิกบุหรี่ แนวทางการลด ละ เลิก บุหรี่และสุรา เป็นต้น พร้อมประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม
  6. จัดกิจกรรมรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่และสุราในชุมชน โดยแกนนำสุขภาพชุมชนเดินรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง
  7. สนับสนุนให้ชุมชนจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ และส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย จัดโซนนิ่งเขตสูบบุหรี่/ไม่สูบบุหรี่ ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่
  8. ส่งต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มติดบุหรี่-สุรา ในชุมชน ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ
  9. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลด ละ เลิก บุหรี่และสุรา
  2. ไม่มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน ในปีงบประมาณ 2566
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2566 15:19 น.