โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนตาดีกา ประจำปี 2566
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนตาดีกา ประจำปี 2566 |
รหัสโครงการ | 66-L3009-01-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ |
วันที่อนุมัติ | 26 มกราคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 กันยายน 2566 |
งบประมาณ | 18,520.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลรอแม มามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายการดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการสุขภาพกายที่ดีด้วย ซึ่งมีผลกระทบถึงการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้สาเหตุเกิดจากภายในช่องปากอย่างเดียว แต่เกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุ ซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลาย ๆ อย่าง ที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปากของตนเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก ดังนั้นการดูแลสุขภาพปากและฟันดีแล้วจะส่งผลให้สุขภาพกายดีไปด้วย ปัญหาโรคฟันผุกลายเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขอย่างครอบคลุมได้ ยังคงเกิดความรุนแรงของโรคฟันผุและเหงือกอักเสบในรายที่ต้องการรักษาเร่งด่วน นอกจากนี้เด็กยังเริ่มมีฟันผุในช่วงอายุน้อยลง พบว่าการลุกลามของโรคฟันผุเกิดขึ้นเร็วและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หากเด็กต้องถอนฟันน้ำนมก่อนเวลา จะทำให้เกิดการเรียงตัวของฟันซ้อนเกขึ้นได้และมีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหารจะส่งโดยตรงต่อร่างกายทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและส่งผลต่อทุพโภชนาการอีกด้วย ปัญหาดังกล่าวมีความสำคัญต่อเด็กซึ่งเป็นอนาคตของประเทศ การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือการให้ความสำคัญกับการแปรงฟัน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเป็นพื้นฐานที่สุดที่ผู้ปกครองสามารถทำได้ด้วยตัวเอง และเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุดอีกด้วย ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนตาดีกา ปีงบประมาณ2566” ขึ้น เพื่อให้เด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ อีกทั้งจะส่งผลต่ออัตราการเกิดโรคฟันผุ และเพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันน้ำนมให้เคี้ยวจนกว่าฟันแท้จะถึงเวลาขึ้นแทนที่ และมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียนตาดีกาตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคฟันผุในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยล่ะ 100 เด็กนักเรียนได้มีการแปรงฟันหลังกินอาหารกลางวัน |
||
2 | เพื่อให้เด็กนักเรียนมีการสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะในการแปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี ร้อยล่ะ 80 เด็กนักเรียนมีสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 200 | 18,520.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 | จัดอบรมให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการโรคฟันผุ การดูแลเกี่ยวกับช่องปาก และสาธิตการแปรงฟันในเด็กเล็กและเด็กโต | 100 | 10,500.00 | - | ||
1 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 | กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน | 100 | 8,020.00 | - |
- ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กวัยเรียน
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก
- ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการดูแลบุตรหลานในเรื่องสุขภาพช่องปาก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 09:59 น.