โครงการสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 |
รหัสโครงการ | 66-L3009-02-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลกะมิยอ |
วันที่อนุมัติ | 26 มกราคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 กันยายน 2566 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลฮาฟิส ตอลอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพจิตเป็นการที่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง สามารถจัดการควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม ปราศจากความกังวลไม่สมเหตุสมผล และสามารถเผชิญปัญหาหรือความเครียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในด้านสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับและพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตนเอง (Shives, L. R., 2012) เช่นเดียวกับ วาทินี สุขมาก (2557) กล่าวถึงลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตที่ดี ว่าเป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดีทั้งในสถานการณ์ที่ปกติและไม่ปกติและสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ส่วนบุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ผิดปกติ มักแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสมรรถภาพในการทำงาน รวมถึงความผิดปกติของความคิด และอารมณ์ จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด (จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวัลลภา คชภักดี, 2551) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายใน เช่นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การจัดการปัญหา เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ในปัจจุบันเยาวชนพบปัญหาสุขภาพทั้งด้านการกายภาพและจิตภาพ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากเดิม ทำให้ผู้ปกครองมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบ แก่งแย่งแข่งขัน ไม่มีเวลาอบรมลูกหลาน จึงทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพทั้งการกายภาพและจิตภาพ
สภาเด็กและเยาวชนตำบลกะมิยอ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำ โครงการสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เด็ก และเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อมทำให้เด็ก และเยาวชนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองต่อไปได้ในชีวิตประจำวัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้บริการด้านความรู้ในการดูแล ส่งเสริม และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนในตำบลกะมิยอ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแล ส่งเสริม และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนในตำบลกะมิยอไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 |
||
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และเยาวชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และเยาวชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 120 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 | กิจกรรมอบรมสุขภาพจิตที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้ความรู้กับสภาเด็กและเยาวชนตำบลกะมิยอ | 40 | 6,700.00 | - | ||
1 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 | ค่าตอบแทนวิทยากร | 40 | 2,400.00 | - | ||
1 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 | ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ | 40 | 900.00 | - |
- ทำให้เยาวชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
- ทำให้เยาวชนมีสุขภาพจิตที่ดี เกิดความสามัคคีในชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่
- เกิดแกนนำสุขภาพในชุมชนในด้านการดูแลสุขภาพ และการคัดแยกขยะในบ้านเรือน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 09:44 น.