กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพตำบลเบตง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L7161-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 150,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลซอมะ แดบ๊อก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 236 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค เป็นต้น และ ที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหา และเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุนการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของ การเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองเบตง และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริม ดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ดูแล ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงได้วางแนวทางที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มประชาชนที่เป็นแกนนำสุขภาพในชุมชน ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
    กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน สวนน้ำ ศาลาประชาคม และกิโลเมตรที่ 3 (กาแปะ) ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพในชุมชนและแนวทางดังกล่าวข้างต้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแกนนำสุขภาพให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพตำบลเบตง ประจำปี 2566 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นแกนนำสุขภาพ ในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำความรู้ ไปดูแลสุขภาพครัวเรือนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่างของบุคคลที่มีพฤติกรรมสุขภาพให้แก่ครอบครัว อนึ่งการจัดทำโครงการดังกล่าว จะเป็นการสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถดูแลสุขภาพประชาชนได้ ทั้ง 5 กลุ่มวัย ครอบคลุม 4 มิติ กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ(ปัญญา) การเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัว ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพเข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะ ความรู้ ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพให้มีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  1. ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพเข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพมีพฤติกรรมสุขภาพเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และชุมชน
3 ข้อที่ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กลไกของแกนนำสุขภาพ

3.ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพ เป็นเครือข่ายด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กลไกของแกนนำสุขภาพในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ 1.เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพให้มีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ข้อที่ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กลไกของแกนนำสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 - 15 มี.ค. 66 ขั้นเตรียมการ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 0.00 23,800.00 -
20 - 22 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยมีหัวข้อความรู้ดังนี้ 0.00 126,620.00 -
30 เม.ย. 66 กิจกรรมถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมเพื่อประเมินผล 0.00 300.00 -
1 - 14 ก.ค. 66 จัดเตรียมวัสดุโครงการ 0.00 23,800.00 -
22 - 24 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ 236.00 126,620.00 -
31 ก.ค. 66 ถอดบทเรียน 0.00 300.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคของประชาชนในพื้นที่ ทั้ง 5 กลุ่มวัย และสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในชุมชนมีตัวอย่างบุคคลที่มีพฤติกรรมสุขภาพ และมีผู้ดูแลสุขภาพครัวเรือน ที่มีประมิทธิภาพเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 10:42 น.