กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ หมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 4 บ้านไร่พรุ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L1498-2-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำผุด
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.หมู่ที่4 ตำบลน้ำผุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ม.4 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 762 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยจากสถานการณ์การระบาดของโรค พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ.2563-2564) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2565 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 รายโดยช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้มพบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000-5,000 รายต่อเดือนและเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมจนสูงที่สุดประมาณ 10,000-16,000รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน)และจากการพิจารณาพื้นที่ระดับอำเภอเมืองอำเภอที่ตั้งของเทศบาลนครหรืออำเภอที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2560-2564) มีแนวโน้มพบอำเภอเสี่ยงสูงต่อการระบาดทั้งสิ้น จำนวน 308 อำเภอ จาก 928 อำเภอทั่วประเทศ สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกของประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 9 มีนาคม 2565 พบผู้ป่วย 607 ราย อัตราป่วย 0.91 ต่อแสนประชากรเสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.33พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5-14 ปี จำนวน 204 ราย อัตราป่วย 2.65 ต่อแสนประชากรสถานการณ์โรคในเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยมากที่สุดในจังหวัดสงขลา จำนวน 16 ราย อัตราป่วย 3.14 ต่อแสนประชากรรองลงมา จังหวัดพัทลุง จำนวน 15 ราย อัตราป่วย 4.63 ต่อแสนประชากรสำหรับจังหวัดตรัง ยังไม่มีรายงานผู้ป่วย(ข้อมูล ณ วันที่ 9 มีนาคม 2565 ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา 506 กองระบาดวิทยา )จากข้อมูลระบาดวิทยา ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 3 ปี ย้อนหลังในพื้นที่ตำบลน้ำผุด ตั้งแต่ ปี 2562 – 2564 มีจำนวน 25, 29 และ 32 คนตามลำดับ ซึ่งพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการของโรคโควิด-19 ให้ประชาชนสามารถเดินทางและไปทำกิจกรรมในสถานที่สาธารณะได้มากขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกจะสูงขึ้น และทำให้เกิดการระบาดต่อเนื่องตลอดปี พ.ศ.2565หากไม่ได้มีการป้องกันโรคแต่เนิ่นๆดังนั้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างและลดความรุนแรงของโรคในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด เป็นการลดจำนวนป่วย และนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำผุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำผุดและกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้ำผุดอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรังได้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 4บ้านใสขุดหิน ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อรณรงค์ทำกิจกรรม กำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน 2. เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน และชุมชน 3. เพื่อลดอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ประชาชนสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 90 ของหลังคาเรือน และร้อยละ  90 ของหมู่บ้านและชุมชน 2. สามารถควบคุมค่าความชุกของลูกน้ำยุงลาย โดยมีค่า HI น้อยกว่า 10 และค่า CI น้อยกว่า 10
3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0

10.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 1. กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายตามละแวกบ้านที่รับผิดชอบของ อสม. โดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 3. ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลน้ำผุด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 15:20 น.