กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-02-28 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 6 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 66-L6895-02-28 ระยะเวลาการดำเนินงาน 6 ธันวาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 19,830.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคหัวใจและหลอดเลือด คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกายอุดตัน หรืออาจเสี่ยงถึงขั้นเส้นเลือดแตก โดยเฉพาะหากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติพบว่า ในทุก ๆ 2 วินาที จะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คน โรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศ ปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต  ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น การมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดในชุมชน โดยมีการคัดกรอง/ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งมีเป้าหมายเป็นประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก และการวัดเส้นรอบเอว ประเมินดัชนีมวลกาย การเจาะน้ำตาลในเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ทางกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนกิตติคุณ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อหัวใจและหลอดเลือด มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  2. เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน
  2. กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น/ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง
  4. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน ร้อยละ 80 ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  2. ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน  จำนวน  7  คน  เพื่อประชุมชี้แจงกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  เมื่อวันที่  22  มิถุนายน  2566  ณ  ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง

 

8 0

2. กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น/ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน  โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน  ดำเนินการคัดกรอง/ประเมินสุขภาพเบื้องต้น  (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย)  และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  มีประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรอง  จำนวน  194  คน  (เป้าหมายจำนวน  219  คน)  ได้รับการคัดกรองคิดเป็นร้อยละ  88.58 2.1 ผลการคัดกรองประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง พบว่า เสี่ยงน้อยจำนวน  135  คน  คิดเป็นร้อยละ  69.59  เสี่ยงปานกลาง  จำนวน  41  คน  คิดเป็นร้อยละ  21.13  เสี่ยงสูง  จำนวน  18  คน  คิดเป็นร้อยละ  9.28 2.2 ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน  พบว่า  กลุ่มปกติ  จำนวน  136  คน  คิดเป็นร้อยละ  70.10  กลุ่มเสี่ยง  จำนวน  42  คน  คิดเป็นร้อยละ  21.65  กลุ่มสงสัย  จำนวน  4  คน  คิดเป็นร้อยละ  2.06  และกลุ่มป่วยเบาหวาน  จำนวน  12  คน  คิดเป็นร้อยละ  6.19

 

219 0

3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

08.30 น. - 09.00 น. ลงทะเบียนโดย  แกนนำสุขภาพ 2 ชุมชน (ป่ามะพร้าว/ชุมชนกิตติคุณ) 09.00 น. - 09.10 น. พิธีเปิดโครงการ กล่าวเปิด  โดย  นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง  (นายสรนนท์  จิโรจน์มนตรี) กล่าวรายงาน  โดย  ตัวแทนแกนนำสุขภาพ 2 ชุมชน (นางปราณี  ไกรว่อง) 09.10 น. - 10.00 น. บรรยายเรื่อง  โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง  โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
10.00 น. - 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. - 12.00 น. บรรยายเรื่อง  การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. - 14.00 น. บรรยายเรื่อง  อาหาร  ลดเค็ม...ลดโรค  โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
14.00 น. - 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.10 น. - 16.00 น. บรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ  เรื่อง  การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
16.00 น. - 16.30 น. - ตอบข้อซักถาม - ประเมินความพึงพอใจ/ ปิดการประชุม

หมายเหตุ  ดำเนินการร่วมกันกับกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนกิตติคุณ  (โครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจ  ป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  ปี  2566)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง  โดยให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง/ การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  อาหาร  ลดเค็ม...ลดโรค  และการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า  โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว  เมื่อวันที่  28  มิถุนายน  2566  ณ  อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง  มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน  50  คน  พร้อมประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  ซึ่งดำเนินการร่วมกันกับกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนป่ามะพร้าว  (โครงการชุมชนป่ามะพร้าว  ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  ปี  2566) 4. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  เป้าหมายจำนวน  50  คน  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  50  ชุด  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ  83.4  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.17  โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้ 4.1 ด้านวิทยากร  และสื่อที่ใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 คิดเป็นร้อยละ 83
- เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.14  คิดเป็นร้อยละ 82.8 - วิทยากรถ่ายทอดความรู้ และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  4.20  คิดเป็นร้อยละ  84 - สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.12 คิดเป็นร้อยละ  82.4 4.2  ด้านความรู้ ความเข้าใจ  และการนำไปใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.18  คิดเป็นร้อยละ  83.6 - มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.22  คิดเป็นร้อยละ  84.4 - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.14  คิดเป็นร้อยละ  82.8 - สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  4.18  คิดเป็นร้อยละ  83.6

4.3  ด้านสถานที่/ระยะเวลา  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.34 คิดเป็นร้อยละ 86.8 - ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.42 คิดเป็นร้อยละ 88.4 - สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.26 คิดเป็นร้อยละ 85.2 4.4  ภาพรวมของโครงการ  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.00 คิดเป็นร้อยละ 80

 

50 0

4. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง  โดยแกนนำสุขภาพในชุมชนติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน  มีการประเมินสุขภาพเบื้องต้นซ้ำ  (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย)  และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยง  ซึ่งมีกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามจำนวน  18  คน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กิจกรรมประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 7 คน เพื่อประชุมชี้แจงกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง
  2. กิจกรรมคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน ดำเนินการคัดกรอง/ประเมินสุขภาพเบื้องต้น (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย) และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง มีประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรอง จำนวน 194 คน (เป้าหมายจำนวน 219 คน) ได้รับการคัดกรองคิดเป็นร้อยละ 88.58 2.1 ผลการคัดกรองประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง พบว่า เสี่ยงน้อยจำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 69.59 เสี่ยงปานกลาง จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 21.13  เสี่ยงสูง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 9.28 2.2 ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มปกติ จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 70.10 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 42  คน คิดเป็นร้อยละ 21.65 กลุ่มสงสัย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.06 และกลุ่มป่วยเบาหวาน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 6.19
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง โดยให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง/ การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง อาหาร ลดเค็ม...ลดโรค และการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 50 คน พร้อมประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งดำเนินการร่วมกันกับกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนป่ามะพร้าว (โครงการชุมชนป่ามะพร้าว ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566)
  4. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม เป้าหมายจำนวน  50 คน ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน 50 ชุด ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 83.4 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.17 โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้ 4.1 ด้านวิทยากร และสื่อที่ใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 คิดเป็นร้อยละ 83

- เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 คิดเป็นร้อยละ 82.8 - วิทยากรถ่ายทอดความรู้ และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.20 คิดเป็นร้อยละ 84 - สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.12 คิดเป็นร้อยละ 82.4 4.2 ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.18 คิดเป็นร้อยละ 83.6 - มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.22 คิดเป็นร้อยละ 84.4 - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 คิดเป็นร้อยละ 82.8 - สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.18 คิดเป็นร้อยละ 83.6

4.3 ด้านสถานที่/ระยะเวลา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.34 คิดเป็นร้อยละ 86.8 - ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.42 คิดเป็นร้อยละ 88.4 - สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.26 คิดเป็นร้อยละ 85.2 4.4 ภาพรวมของโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.00 คิดเป็นร้อยละ 80 5. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 1). ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง  คิดเป็นร้อยละ 88.58 (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80) 2). ร้อยละ 83.4 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก (ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก) 6. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง โดยแกนนำสุขภาพในชุมชนติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน มีการประเมินสุขภาพเบื้องต้นซ้ำ (วัดความดันโลหิต/เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว/วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย) และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองซ้ำแก่กลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามจำนวน 18 คน
7. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจำนวนทั้งสิ้น 19,830.- บาท ดังนี้   กิจกรรมประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  210 บาท - ค่าถ่ายเอกสาร  เป็นเงิน  135 บาท   กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น/ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
- ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่อง เป็นเงิน  800  บาท - ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต 2 เครื่อง เป็นเงิน 5,000  บาท - ค่าจัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 2 เครื่อง เป็นเงิน 1,380  บาท - ค่าแถบตรวจน้ำตาล 6 กล่อง เป็นเงิน 1,920 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 1,310 บาท   กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ผืน เป็นเงิน  750 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน  535 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  750 บาท   กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
- ค่าโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์แบบมีด้ามจับ 3 แผ่น เป็นเงิน  540 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่จริงในชุมชน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

 

2 เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (2) เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในชุมชน  มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  เห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน (2) กิจกรรมคัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น/ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (3) กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง (4) กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการชุมชนกิตติคุณ ร่วมใจป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2566 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-02-28

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด