กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.คูหา
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 70,456.12 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน สาฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 14 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชนโรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง พอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี2566” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน
สถานการรณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดสงขลา พบอำเภอที่มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูง 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.อำเภอสะเดา 2.อำเภอจะนะ 3. อำเภอสิงหนคร 4.อำเภอสทิงพระ 5.คลองหอยโข่ง ส่วนอำเภอสะบ้าย้อย  พบผู้ป่วยตำบลเขาแดง 1 ราย,ตำบลบ้านโหนด 1 ราย,ตำบลสะบ้าย้อย 1 ราย และตำบลคูหา 3 ราย ข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2566 (สัปดาห์ที่ 7) จากศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยา ศปสอ.สะบ้าย้อย ณ.วันที่ 3 มีนาคม 2566
โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ไข้เลือดออก สรุปข้อมูลอัตราป่วยต่อแสนประชากรในปี 2563 เท่ากับ 809.77 (53 ราย),ปี 2564 เท่ากับ 0.00 (0 ราย),ปี 2565 เท่ากับ 59.97 (4 ราย) ปี 2566 เท่ากัน 14.67 (1 ราย) ข้อมูลตั้งแต่ มกราคม 2566 – 3 มีนาคม 2566 จากสถิติสถานการณ์โรคดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อัตราการระบาดของโรคมีแนวโน้มลดลง แต่ด้วยสภาวะการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออก จะระบาดทุกๆ 2 ปี ซึ่งปี 2566 เป็นปีที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากกว่าปีที่ผ่านมา จำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์ เพื่อให้สถานการณ์ของโรคกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โดยทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566” ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดสงขลา ในการพัฒนาตามประเด็นจุดเน้นของจังหวัดสงขลา ปี 2566 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสำคัญ โรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นก่อนดำเนินการ   1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการดำเนินงาน       1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ       1.3 ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง       1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. ขั้นการดำเนินการ   2.1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมฟื้นฟูการใช้การดูแลเครื่องพ่นหมอกควันแก่อาสาสมัครทีมพ่นหมอกควันและแกนนำอสม.จำนวน 14 คน 3 ชั่วโมง   2.2 กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ ประจำปี (๒ ครั้ง/ปี) ห่างกัน 1 สัปดาห์ 2.3 กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการพ่นหมอกควัน เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือในกรณีมีการระบาด (๒ ครั้ง/คน)
      2.4 กิจกรรมที่ 4 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านคูหา,นักเรียนโรงเรียนบ้านล่องควน แกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) จำนวน 100 คน โดยวิธี   ทางกายภาพ - รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนและในโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย   ทางเคมีภาพ - รณรงค์ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม.นักเรียนและพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ – ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้ไล่ยุ่ง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง   3. ประเมินโครงการ   4. สรุปผลโครงการ/รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลงและสามารถควบคุม โรคอุบัติการณ์ใหม่ อุบัติการณ์ซ้ำไว้ได้ และความชุกชุมของ พาหะนำโรคไข้เลือดออกลดลง รวมทั้งประชาชน มีความรู้ที่ถูกต้อง ให้ความสำคัญในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 16:16 น.