กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยยิ้มสดใส ปี2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.คูหา
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2566 - 27 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลาตีผ๊ะ เซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ เป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย       ซึ่งปัจจุบันผู้สูงอายุจำนวนมากยังคงมีปัญหาสุขภาพช่องปากในหลายๆประเด็น อาทิเช่น การสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ฟันผุและรากฟันผุ ปริทันต์ ภาวะน้ำลายแห้ง ปัญหาเหล่านี้ยังสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังทางร่างกาย โดยการมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ที่พบบ่อย เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคของระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น จึงทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากมีความยากและซับซ้อนกว่ากลุ่มอายุอื่น แนวทางการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากดังกล่าว จึงต้องมีทั้งในส่วนการสร้างและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ เกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากพื้นฐานที่ถูกต้องด้วยตนเอง การจัดบริการป้องกัน รักษาฟื้นฟู ให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็น ได้ทันเวลา รวมทั้งการส่งต่อและการรับกลับดูแลต่อเนื่องในระยะ ยาว โดยควรเน้นการให้บริการในสถานบริการใกล้บ้าน การบูรณาการเข้ากับการดูแลผู้สูงอายุด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ การจัดการปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีในการป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ที่เหมาะสม ให้ครอบคลุมทุกประเด็นปัญหา ทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุ และก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยมุ่งหวังว่าผู้สูงอายุจะสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง เข้าถึงบริการทันตสุขภาพจากภาครัฐทั้งด้านการป้องกัน ความเสี่ยงจากการเกิดโรคในช่องปาก และการรับบริการรักษาโรคในช่องปากตามความจำเป็น ทำให้มีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้ โดยปราศจากความเจ็บปวด ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเก็บรักษาฟันแท้ไว้เพื่อการเคี้ยวอาหารได้ โดยไม่ต้องใส่ฟันเทียมให้นานที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้สูงอายุไทยได้รับบริการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ร่วมกับมีการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก     ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ รวมทั้งคนในชุมชนตำบลคูหา ให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีต่อไป จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ ๑ “สัปดาห์สุขภาพ” ประชุมชี้แจงงานและให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้สูงอายุ
เรื่องที่ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้เข้ารับการอบรม -ปริทันต์ -ฟันผุ -หินปูน   -ฟันสึก -ฟันปลอม   -ฟลูออไรด์   -การรักษาอนามัยช่องปาก

ขั้นหลังดำเนินงาน -  ประเมินผลโครงการ -  สรุปผลโครงการ -  นำเสนอผลการการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันที่ถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 16:27 น.