กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3009-02-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ (กองสวัสดิการสังคม)
วันที่อนุมัติ 26 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฑารัตน์ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.854,101.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผักเป็นพืชอาหารที่มีการบริโภคในชีวิตประจำวัน มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะผักเป็นแหล่งรวมของวิตามินต่างๆที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ให้กากใยที่ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย การบริโภคผักมีส่วนทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี แข็งแรง ประชาชนในตำบลกะมิยอนิยมซื้อผักเพื่อบริโภคอยู่ทุกวัน ซึ่งประชาชนในชุมชนมีการปลูกผักอยู่บางครัวเรือน และใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี เพราะสะดวก หาซื้อง่าย ได้ผลเร็ว เกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีทั้งผู้ใช้สารเคมีและผู้บริโภคผักที่มีสารเคมี ประชาชนต้องเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อสารเคมี ปุ๋ยเคมี เพื่อใช้ในการเกษตร ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสม ภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจาก จากพฤติกรรมการปลูกผักดังกล่าวของชุมชน พบว่าชุมชนไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักกินเอง เพราะในการซื้อผัก แต่ละครั้ง เป็นจำนวนเงิน 60-200 บาทต่อครั้ง เนื่องจากขาดความรู้เทคนิคในการปลูกผักปลอดภัย ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่เห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการเพาะปลูกพืชผักปลอดภัย ขาดหน่วยงานที่มาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก/บริโภคผักปลอดภัยในหมู่บ้าน จากปัญหาข้างต้นองค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ จึงเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการให้ความรู้การปลูกพืชปลอดภัยในครัวเรือน และการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน และลดการซื้อผักจากตลาดสดหรือภายนอกที่ไม่ทราบถึงที่มาของผักว่ามีความปลอดภัยหรือสารอันตรายปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด ดังนั้นการส่งเสริมให้ความรู้ในการปลูกผักปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ทั้งยังสามารถสร้างงานสร้างอาชีพ เป็นการเสริมรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประสบปัญหาการว่างงาน ตลอดจนเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนได้รับความรู้ และเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ นำนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน ตามนโยบายสร้างงาน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ให้กับประชาชน อันนำไปสู่การมีคุณภาพที่ดีขึ้นของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยจากสารพิษที่มาจากพืชผักที่มีผลต่อสุขภาพ

ผู้อบรมมีปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานที่บ้าน

2 เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าเรื่องเกษตรปลอดภัย

ผู้อบรมมีเปลี่ยนพฤติกรรมการการบริโภคพืชผัก/สมุนไพรพื้นบ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 90,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ/ตรวจสุขภาพเบื้องต้น และด้านผู้ผลิตพืชผักปลอดภัย 100 67,100.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมติดตามผลการฝึกอบรม/ประกวดครัวเรือนตัวอย่าง 100 6,500.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมสร้างศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดภัยจากสารพิษ และสวนสมุนไพรพื้นบ้าน 100 16,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าใจภัยจากผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ปลอดภัย
  2. ผู้อบรมมีสุขภาพดีจากจากผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ
  3. ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้เรื่องเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ/สมุนไพรพื้นบ้าน
  4. เกิดเครือข่ายเกษตรปลอดภัยในชุมขน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2566 15:18 น.