กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลผดุงมาตร ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2477-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุสยานี ดอสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6802 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกปี 2565
177.04

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินงานโดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งร่วมมือกับองค์กรชุมชนดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีการควบคุมโรคการรณรงค์ให้กำจัดยุงลายทุกๆ 7 วัน และมีการป้องกันและควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืนตามมาตรการ 5 ป 1 ข (ปิดฝาชนะที่มีน้ำขัง เปลี่ยนภาชนะรองรับน้ำทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติเป็นประจำ ขัดล้างภาชนะรองรับน้ำทุกสัปดาห์ )ไข้เลือดออกได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่อัตราป่วยและอัตราตายก็ยังไม่ลดลงเท่าที่ควร จากข้อมูลผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของตำบลผดุงมาตรในปี พ.ศ. 2562-2566 พบว่ามีอัตราป่วยเท่ากับ 81.11, 162.25 ,74.38 ,59.50 และ 177.04 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมายังไม่สามารถควบคุมและหยุดยั้งการระบาดของโรคได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคุมอย่างต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าโรคไข้เลือดออกมีการแพร่ระบาดในพื้นที่ใกล้เคียงในอัตราที่สูงและต่อเนื่อง สามารถแพร่ระบาดในพื้นที่ตำบลผดุงมาตรมาตรได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในพื้นที่ได้ จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรจึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและทุกหมู่บ้านในเขตตำบลผดุงมาตร แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างได้ผล คือการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกโดยการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกรวมทั้งรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน และร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคตามมาตรการ 5 ป 1 ข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลผดุงมาตร ปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวให้รู้จักวิธีการควบคุม เฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ในด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00 80.00
2 เพื่อควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง และลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

177.04 45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 44,560.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมทำลายยุงตัวแก่โดยการพ่นหมอกควันในชุมชนในโรงเรียนและสถานที่ราชการ 0 44,560.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง และลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก 2.กำจัดยุงพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก 3.กระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวและเฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อที่นำโดยแมลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 00:00 น.