กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเทศบาลเมืองกันตัง ร่วมใจดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6895-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 18,095.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534  มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของคนพิการว่า  เป็นคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง  และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หมายความว่า การเสริมสร้างสมรรถภาพ หรือการเสริมสร้างความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยอาศัยวิธีทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางสังคม  และการฝึกอาชีพเพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงาน หรือดำรงชีวิตในสังคมทัดเทียมคนปกติ มาตรา 15 ให้คนพิการที่ได้รับการจดทะเบียนตามมาตรา 14 ได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย  ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการทางร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการ/ทุพพลภาพรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล จากข้อมูลการสำรวจของ อสม. ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2566 พบว่า จำนวนผู้พิการที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 118 คน แบ่งตามประเภทความพิการ คือทางกาย/การเคลื่อนไหว 74 ราย ทางสติปัญญา 13 ราย ทางการเรียนรู้ 3 ราย ทางการได้ยิน/สื่อความหมาย 12 ราย ทางจิต 9 ราย ทางการมองเห็น 5 ราย และออทิสติก 2 ราย  มีผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ต้องมีผู้ดูแล  ซึ่งผู้ดูแลประจำส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลที่ถูกต้องและบางครั้งผู้พิการ/ทุพพลภาพถูกทอดทิ้งอยู่ตามลำพัง  จึงทำให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น กล้ามเนื้อลีบ ข้อติด แผลกดทับ เป็นต้น จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญ จึงจัดโครงการเทศบาลเมืองกันตัง ร่วมใจดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2567 ขึ้น เพื่อให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง อันจะมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้พิการ/ทุพพลภาพดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ/ทุพพลภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนได้รับความรู้ มีทักษะในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว

 

2 เพื่อให้ผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

3 เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันของคนพิการทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว 1.2 เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรองและเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ เช่น โรงพยาบาลกันตัง ทีมเครือข่ายสุขภาพอำเภอกันตัง เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์เชิญแกนนำสุขภาพในชุมชนเข้าร่วมโครงการ 2.2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้พร้อมฝึกทักษะแก่แกนนำสุขภาพชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน

- ให้ความรู้เรื่อง หลักการและประโยชน์ของการฝึกกิจวัตรประจำวัน ( ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ) - ให้ความรู้เรื่อง หลักการและประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้น ( ทฤษฎี 2 ชั่วโมง ) - แบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน (วิทยากรประจำฐานๆ ละ ๑ คน) (ทฤษฎี+ฝึกปฏิบัติ 3 ชั่วโมง) ดังนี้ ฐานที่ 1 วิธีการนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ ฐานที่ 2 การจัดท่าทาง/การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและการบริหารข้อ     ป้องกันข้อยึดติด ฐานที่ 3 วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ - ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม
- ประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ
2.3 จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยประสานงานร่วมกับนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตัง และแกนนำสุขภาพในชุมชน ประเมินความสามารถของผู้พิการรวมทั้งพิจารณาการฟื้นฟูสมรรถภาพให้เหมาะสมกับผู้พิการแต่ละราย หรือพิจารณาส่งต่อรับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่โรงพยาบาลกันตัง ให้คำปรึกษาแนะนำการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เอื้อต่อสุขภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากความพิการกับผู้ดูแลที่บ้าน 3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพในชุมชน ได้รับความรู้ และเกิดทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว
  2. ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับหนึ่ง โดยญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วม
  3. ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวได้รับการเยี่ยมบ้านเป็นการกระตุ้นและสร้างขวัญกำลังใจให้คนพิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 14:25 น.