กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6895-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 14,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดม (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม  ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น จากข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2566 (ระบบข้อมูล HDC อ้างอิงจาก https://trg.hdc.moph.go.th/) ผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ปกติ ร้อยละ 96.18 เสี่ยง ร้อยละ 3.22 สงสัยป่วย ร้อยละ 0.57 ผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน พบว่า ปกติ ร้อยละ 88.73 เสี่ยง ร้อยละ 11.07 สงสัยป่วย ร้อยละ 0.14 กลุ่มวัยทำงานอายุ 19-59 ปี มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (≥ 23 กก./ตร.ม.) จำนวน 1,537 คน คิดเป็นร้อยละ 62.10
ทางศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมามีความตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร

 

2 เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ของประชาชน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง

 

3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอให้อนุกรรมการพิจารณากลั่นกรอง และเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติงบประมาณ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานวิทยากร ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียมสถานที่ และจัดเตรียมอุปกรณ์ในการฝึกอบรม
  3. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
    3.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง) 3.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ดังนี้ (ทฤษฎี 3 ชั่วโมง)
    3.1.1 แนะนำการบริโภคอาหารตามโซนสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง โดยสีเขียว หมายถึง บริโภคให้มาก สีเหลือง หมายถึง บริโภคได้ปานกลาง และสีแดง หมายถึง บริโภคแต่น้อย 3.1.2 แนะนำการปฏิบัติตัวตามหลัก 3 อ. บอกลา 2 ส. โดย 3 อ. คือ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย และบอกลา 2 ส. คือ สูบบุหรี่ สุรา
    3.1.3 ลดหวาน มัน เค็ม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    3.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายลดพุง ลดโรค (ทฤษฎี+ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง) 3.3 ประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ
  4. กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยชมรมต่างๆ แกนนำการออกกำลังกายในชุมชน สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
  5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  6. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร
  2. ประชาชนเกิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง
  3. ประชาชนได้รับการเสริมสร้างสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 16:58 น.