กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L1516-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 18,055.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุวดี ลื่อเท่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ – ๖๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒%9ต่อมาพบว่าการตรวจค้นหาความเสี่ยงแบบHPVสามารถค้นหาความเสี่ยงระยะก่อนการเป็นมะเร็งได้ผลดีกว่าในทุก5ปีและตรวจpap smearซ้ำในรายที่มีความเสี่ยงในทุก1ปี ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกจะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจฯ ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๐- ๒๕๖๕ร้อยละ ๘๐.๐๓ พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกทั้งสิ้น ๓ คนได้รับการส่งตรวจต่อแบบpap smearทุกคนและนัดตรวจซ้ำทุกปี และกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ – ๗๐ ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๙๙.๐๐ พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติ ๑ คน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองพบความผิดปกติ ๑ คน  ประชากรกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ตรวจเต้านมที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและ อสม.ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๖๗ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 - 70 ปี

  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ

  3. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ

  4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟู เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข

- ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
- สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

5.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์

6.อาสาสมัครสาธารณสุข ให้ความรู้/สอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่องเป็นประจำต่อเนื่อง
๒. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
๓. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 14:22 น.