กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L1516-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลักขณา หนูเริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี ๒๕๕๘ พบว่ามีผู้สูงอายุร้อยละ ๑๕.๙ และคาดว่าในปี ๒๕๗๓ จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ คือมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๒๐ ปัญหาสุขภาวะในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อยคือโรคเบาหวาน ความดันโล่หิตสูง รวมถึงการสูญเสียฟัน โดยผู้สูงอายุที่มีฟันน้อยกว่า ๖๐ ซี่ หรือ ๔ คู่สบ พบร้อยละ ๓๙.๔ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากประเทศไทยปี ๒๕๕๕ ด้านการมีฟันที่ใช้งานได้อย่างน้อย ๒๐ ซี่ ช่วงอายุ ๓๕-๔๔ ปี พบร้อยละ ๙๗ ช่วงอายุ ๖๐-๗๔ ปีพบร้อยละ ๕๗.๘ และช่วงอายุ ๘๐-๘๙ ปี พบร้อยละ ๒๓.๕ จะเห็นได้ว่าช่วงอายุมากขึ้นแนวโน้มการสูญเสียฟันเพิ่มมากขึ้น การมีฟันน้อยกว่า ๔ คู่สบจะลดทอนประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ได้เผยประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ๗ ประเด็น ได้แก่ ๑)การสูญเสียฟันและปัญหาจากการใส่ฟัน พบว่ามีการสูญเสียฟันร้อยละ ๙๔ ในจำนวนนี้เป็นการสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ ๑๐ ๒)ปัญหาฟันผุและรากฟันผุ พบว่าฟันผุร้อยละ๙๖ และรากฟันผุร้อยละ ๒๑ ๓)โรคปริทันต์ โดยพบโรคปริทันต์ระยะรุนแรงร้อยละ ๖๘ ๔)แผลและมะเร็งช่องปาก พบ ๔-๕ คนต่อประชากรแสนคน โดยจะพบส่วนใหญ่ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ๕)น้ำลายแห้ง ๖) ฟันสึก ๗ สภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ

กระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายแผนงานทันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๘ -๒๕๖๗ คือ ๑)ร้อยละ ๘ㅇ ของผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดีและมีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม คือมีฟันอย่างน้อย ๒0 ชี่ หรือ ๔ คู่สบฟัน หลัง ๒) มีนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุอย่างน้อย ๕ ใน ๗ ประเด็น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้แก่กลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง รวมถึงกลุ่มวัยก่อนเข้าสูงอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป

จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุประจำปีของจังหวัดตรังพบว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มการสูญเสียฟันสูงเมื่อเทียบกับการได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการได้รับการใส่ฟัน ผลการสำรวจ ปี ๒๕๖๐ พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันแท้ในช่องปากใช้งานได้ ๒๐ ซี่ เฉลี่ยร้อยละ ๔๓.๗ ผู้สูงอายุที่มีฟันคู่สบฟันหลังใช้งานได้ ๔ คู่ขึ้นไปร้อยละ ๗๒.๔ ซึ่งสาเหตุการสูญเสียฟันส่วนใหญ่มาจากโรคฟันผุและปริทันต์

อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังเป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจสภาวะช่องปากผู้สูงอายูจังหวัดตรัง ปี ๒๕๖๖ พบผู้สูงอายุมีฟันแท้ในช่องปากใช้งานได้ ๒๐ ซี่ เฉลี่ยร้อยละ ๔๔.๘ ผู้สูงอายุที่มีฟันคู่สบฟันหลังใช้ งานได้ ๔ คู่ขึ้นไปร้อยละ ๖๘ ซึ่งมีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาสุขภาพช่องปากต่างๆ เช่น เหงือกอักเสบ ฟันผุ โดยส่วนใหญ่จะเป็น และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นการดูแลเชิงส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูจึงเป็นสิ่งสำคัญ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้าเล็งเห็นถึงความสำคัญของทันตกรรมในผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า อำเภอวังวิเศษ ประจำปี ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุและความจำเป็นที่ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแล พร้อมทั้งส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากที่เหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชมรมได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชมรมมีฟันคู่สบฟันหลังใช้ งานได้ ๔ คู่ขึ้นไป

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางและวางแผนการดำเนินงาน ๒. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

ขั้นดำเนินการ ๑. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ ๒.จัดซื้อ/เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ๓.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ขั้นประเมินผล ๑. สรุปปัญหาและแนวทางการแก้ไข ๒.สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายมีสภาวะช่องปากที่ดีขึ้นสามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 15:46 น.