กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่เยาวชนบ้านท่าราบ “สุขภาพจิตดี ชีวีแสนสุข” ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3009-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มปัมมูดี บ้านท่าราบ ม.1 กะมิยอ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาเรียม โตะเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตาดีกาตาระ ม.1 ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.85041,101.314631place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นเป็นเรื่องใหญ่ นับวันเราได้ยินข่าวเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นส่งผลกระทบต่อพัฒนาการหลายมิติ ทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และสังคม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในทางร้ายสุด ผู้ประสบปัญหาอาจหาทางออกโดยการทำร้ายตัวเอง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในประชากรวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี ปัญหาสุขภาพจิตคิดเป็น 16% ของปัญหาสุขภาพทั้งหมด โดยกว่าครึ่งของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต เริ่มมีปัญหาตั้งแต่อายุ 14 ปี แต่ไม่เคยได้รับการตรวจหรือบำบัด รักษา ทั้งนี้พบว่าในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพจิตเป็นตัวการสร้างความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และการฆ่าตัวตายจัดเป็นสาเหตุลำดับ 3 ของการเสียชีวิตของประชากรวัย 15-19 ปีนอกจากนี้ จากจำนวนประชากรวัยรุ่นทั่วโลก ที่ 90% อาศัยในประเทศรายได้ขั้นกลางและขั้นต่ำ จำนวนการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นกว่า 90% เกิดในประเทศเหล่านี้ ข้อมูลจาก Mental Health Foundation (UK) ระบุว่า มีเด็กและวัยรุ่นราว 1 ใน 10 ที่เผชิญปัญหาสุขภาพจิต โดย 70% ของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหา ไม่ได้รับการตรวจหรือรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้มีประสิทธิภาพกว่า ขณะที่ในยุโรป WHO ระบุว่ามีราว 8%-23% ของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิต จากสถิติข้างต้นจะเห็นว่า ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นเป็นเรื่องใหญ่ และกำลังเกิดขึ้นในทุกประเทศจริง ๆ ทั้งนี้ข้อมูลจาก นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุดวัยหนึ่ง แสดงออกมาในรูปพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ดื้อ ไม่เชื่อฟัง ละเมิดกฎเกณฑ์ มีเพศสัมพันธ์แบบไม่เหมาะสม ใช้ยาเสพติด ทำผิดกฎหมาย ติดเกม ติดการพนัน โดยพฤติกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นมานาน ทำให้แก้ไขยาก นอกจากนี้ในยุคดิจิทัล ที่วัยรุ่นใช้เวลาบนโลกอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ก็ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งสื่อ ข้อมูล โอกาสเจอคนหลากหลายเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้เสี่ยงเพิ่มปัญหาสุขภาพจิตให้หนักขึ้นด้วย ยุคโควิด-19 มีผลซ้ำเติมปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นให้เพิ่มมากขึ้น HealthDay News (มี.ค. 2564) เปิดเผยผลสำรวจผู้ปกครองเกือบ 1,000 คนที่มีลูกวัยรุ่นพบว่า เกือบครึ่งของผู้ปกครองสังเกตว่าลูกตนมีสัญญาณความเครียดหรือสุขภาพจิตที่แย่ลง ส่วนหนึ่งเพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากอยู่กับเพื่อน ชอบเข้าสังคม แต่โควิดจำกัดให้วัยรุ่นเจอเพื่อนได้น้อยลง ทั้งนี้ ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต มักมีปัญหาในการปรับตัว มีอาการทางจิตเวช เช่น เครียด ซึมเศร้า เมื่อเจอปัญหา แม้เป็นปัญหาเล็ก ๆ ก็ปรับตัวได้ลำบาก วัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ อยู่ในช่วงปรับตัว ก่อร่างพื้นฐานสุขภาพจิต มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและอารมณ์ การสร้างระบบหรือกลไกเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน โอบอุ้มวัยรุ่น ทั้งในระดับสังคม ครอบครัว หรือโรงเรียน จะช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นลงได้
    กลุ่มปัมมูดีบ้านท่าราบได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตที่อาจจะเกิดขึ้นกับเยาวชนในหมู่บ้านท่าราบ จึงได้จัดการอบรมการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และพัฒนางานด้านสุขภาพจิตของเยาวชน ให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนปัญหาที่ตนเองพบเจอในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้แก่เยาวชน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและมีทักษะในการรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตได้ เพราะเราตระหนักได้ว่าการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้อัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชนลดลง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับเยาวชนในสังคมปัจจุบัน

อัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของเยาวชนลดลง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นกับเยาวชนในสังคมปัจจุบัน

2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนมีชีวิตที่เป็นสุข มีสุขภาพจิตที่ดี ลดการเกิดโรคต่าง ๆ และมีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

เยาวชนมีชีวิตที่เป็นสุข มีสุขภาพจิตที่ดี ลดการเกิดโรคต่าง ๆ และมีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 10,050.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้ เด็กและเยาวชนในการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และกิจกรรมเกมสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนเป็นสุข เกิดความผ่อนคลาย มีความแข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 50 8,550.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 50 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพจิตของตนเองและผู้อื่นได้
  2. ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของตนเองและผู้อื่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567 10:40 น.