กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับหลวง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,757.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาซีเตาะห์ กาแลฮือมิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เขตพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านทับหลวงเป็นหนึ่งพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ90 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับหลวง ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป เพื่อให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (1) เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือด (2) เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ให้ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตร และหันมาใช้ปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช

1.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง 100 % 2.เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ให้ทุกคนตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตร และหันมาใช้ปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช 100%

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งรักษาต่อ
2.ทำให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับความรู้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 15:52 น.