กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ“เสริมพลังนักรบเสื้อเทาเพื่อการพัฒนาความเข้มแข็งสุขภาพชุมชนและทีมหมอครอบครัว (โซนปลายเหล็กไฟ ม.1) ปี 2567”
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. ม.1 บ้านทัพหลวง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สมใจ นิลกาลพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เป็นที่รู้จักในนามของ “นักรบเสื้อเทา” เป็นจิตอาสาด้านสาธารณสุขที่ได้รับความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างสูง โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติสุขภาพ เช่น กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การส่งมอบบริการสุขภาพในรูปแบบหมอครอบครัว ในฐานนะหมอคนที่ 1 และเป็นกลไกหนึ่งในแผนการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติในระยะ 20 ปี ซึ่ง อสม. มีบทบาทการปฏิบัติงานถึงระดับครัวเรือนและบุคคล เป็นกำลังสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขมาตลอดรวมกว่า 40 ปี โดย อสม.มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ในงานสาธารณสุขมูลฐานและงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 8 ข้อ ดังนี้ 1. สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน 2. ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง และเกิดการเจ็บป่วยน้อยที่สุด 3. ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจ่ายถุงยางอนามัย การตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจหาน้ำตาลในเลือด การส่งต่อผู้ป่วย และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานบริการ 4. ปฏิบัติงานที่ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) หรือสถานที่ตามกำหนดของหมู่บ้าน 5. จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็ก การติดตามหญิงมีครรภ์ให้มาฝากท้องและตรวจครรภ์ตามกำหนด ให้บริการชั่งน้ำหนักหญิงมีครรภ์เป็นประจำทุกเดือน ติดตามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และตรวจสุขภาพตามกำหนด กิจกรรมเฝ้าระวังด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยการติดตามให้มารดานำเด็กไปรับวัคซีนตามกำหนด และกิจกรรมเฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดและโรคติดต่อประจำถิ่น โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคหรือพาหะนำโรค 6. บริหารจัดการวางแผน แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลและจากแหล่งอื่นๆ 7. ชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน 8. ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านหลักประกันสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป็นแกนนำในการประสานงานกับผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและเครือข่ายสุขภาพ กระตุ้นให้มีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของหมู่บ้าน บนพื้นฐานข้อมูลของชุมชน สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจและจิตใจควบคู่กันไป การดำเนินการทั้ง 8 ข้อ นั้น จำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน สำหรับการปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชนเป็นฐานปฏิบัติการย่อยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทับหลวง ปัจจุบันมีการแบ่งเป็นการปฏิบัติงานของ อสม. ทั้ง 3 หมู่บ้าน ออกเป็น 12 โซน (หมู่บ้านละ 4 โซน) ตามสภาพการทำงานที่สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของตำบลคูหาที่มีความทุรกันดาร ขาดแคลน และห่างไกล จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถให้คำแนะนำและดูแลสุขภาพประชาชนที่เน้นกลุ่มเสี่ยง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตสูงเบื้องต้น
  • ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองอย่างทั่วถึง
  • กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มขึ้น
  • จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  4. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 14:39 น.