กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรังมดแดง
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.701place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 64 ราย
64.00
2 อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จำนวน 15 ราย
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยจะนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น การดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค และแรงงานต่างด้าว พบว่าอัตราการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ได้เพียง 35.48 : แสนประชากร ยังน้อยกว่าเกณฑ์ของประเทศ (171 : แสนประชากร) ทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ยังไม่ถูกค้นพบและเชื้อโรคแพร่กระจายไปในชุมชนได้อย่างรวดเร็วดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อที่จะลดปัญหาของการเกิดโรควัณโรคและภัยสุขภาพได้
ในปีงบประมาณ 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรังมดแดง มีผู้ป่วยวัณโรคย้อนหลัง 5 ปี จำนวน 12 ราย 11 หลังคาเรือน มีผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 64 ราย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรังมดแดง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคเพื่อลดอัตราการเกิดโรคในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน

 

2 2.ผู้สัมผัสร่วมบ้านวัณโรคได้รับการ คัดกรองวัณโรค ร้อยละ 100

 

3 3.ผู้ป่วยสงสัยวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาทันทีที่ตรวจพบ

 

4 4.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ประชุมชี้แจง อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 15 ราย(22 เม.ย. 2567-22 เม.ย. 2567) 0.00          
2 คัดกรองและจัดอบรมให้ความรู้ผู้สัมผัสร่วมผู้ป่วยวัณโรค(22 เม.ย. 2567-22 เม.ย. 2567) 0.00          
รวม 0.00
1 ประชุมชี้แจง อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 15 ราย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 คัดกรองและจัดอบรมให้ความรู้ผู้สัมผัสร่วมผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น     2. ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคได้รับการคัดกรองทุกราย     3. ผู้ป่วยสงสัยวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาทันที่ที่ตรวจพบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 10:43 น.