กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารบริเวณหน้าโรงเรียน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L6895-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคอุจจาระร่วงมีสาเหตุจากการปนเปื้อนของอาหารจากเชื้อโรคจนทำให้เกิดการเจ็บป่วย
ซึ่งการปนเปื้อนของอาหารนี้มักเกิดจากพฤติกรรมอนามัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะของผู้เตรียม ปรุง ประกอบในระหว่างการเตรียมปรุงอาหาร นอกจากนี้พฤติกรรมอนามัยของผู้บริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ไม่ใช้ช้อนกลาง เป็นต้น
เนื่องจากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เกิดสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในกลุ่มนักเรียนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองกันตัง จากผลการเฝ้าระวังทางด้านสุขาภิบาลโดยศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ทีม SEhRT ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังลงพื้นที่ประเมินและเฝ้าระวังความเสี่ยงสถานการณ์ โรคอุจจาระร่วงในอาหารและน้ำ ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 9 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 5 ตัวอย่าง และสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารและน้ำที่จำหน่ายบริเวณหน้าโรงเรียนจำนวน 26 ตัวอย่าง
พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 22 ตัวอย่าง การเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหาร จึงมีความสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามสถานการณ์ และทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร
ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนของอาหาร และนำไปสู่การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อได้ เทศบาลเมืองกันตังจึงจัดโครงการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารบริเวณหน้าโรงเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้ผู้จำหน่ายอาหารบริเวณหน้าโรงเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตร ผู้สัมผัสอาหาร

 

2 เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสุขลักษณะและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 14,800.00 1 4,090.00 10,710.00
10 มิ.ย. 67 กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบกิจการ 40 14,800.00 4,090.00 10,710.00
รวมทั้งสิ้น 40 14,800.00 1 4,090.00 10,710.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.3 จัดซื้อและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI-2) แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ สำลี ถุงมือทางการแพทย์ เอกสารประกอบการอบรม เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรผู้สัมผัสอาหารให้แก่ ผู้จำหน่ายอาหารบริเวณหน้าโรงเรียนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 1 ครั้ง โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้

- หลักการสุขาภิบาลอาหารและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย และมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (ทฤษฎี 60 นาที)
- สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร (ทฤษฎี 30 นาที)
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร (ทฤษฎี 60 นาที)
- การใช้กัญชาหรือกัญชงในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารที่ปลอดภัย (ทฤษฎี 30 นาที) - การสาธิตและฝึกปฏิบัติ (60 นาที) 2.2 กิจกรรมตรวจสุขลักษณะแผงลอยจำหน่ายอาหารและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารก่อนและหลังการอบรมสุขาภิบาลอาหาร
- วางแผนลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอาหาร - ตรวจสุขลักษณะแผงลอยจำหน่ายอาหารและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร/แปลผลการตรวจก่อนและหลังการอบรม - แจ้งผลการตรวจให้ผู้ประกอบการทราบ
- ให้ความรู้/คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหาร และอันตรายที่อาจมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่เกิดจากน้ำและอาหารเป็นสื่อ 2.3 กิจกรรมมอบป้าย SAN: การจำหน่ายอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ให้กับแผงลอยที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3. ขั้นประเมินผลการดำเนินการ   3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองกันตังได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย
  2. ลดสาเหตุที่อาจะจะทำให้เกิดโรคจากน้ำและอาหารเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2567 17:18 น.