โครงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาในชุมชน ปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาในชุมชน ปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L6895-01-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 26 เมษายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 22,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.41,99.519place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งน้ำที่นำมาใช้ต้องเป็นน้ำที่สะอาดและปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ที่ก่อโรค เช่น โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ปรสิต รา เป็นต้น และรวมไปถึงสารเคมีอื่น ๆ อีกด้วย จากสาเหตุดังกล่าวหากประชาชนใช้น้ำที่มีการปนเปื้อนอาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร อาหารเป็นพิษ นิ่วในไต ระบบประสาท โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อการประกอบอาชีพ และกระทบไปถึงครอบครัว อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ สร้างเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังสถานการณ์ คุณภาพน้ำ สุ่มตรวจคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบให้มีการแก้ไขปัญหาหากเกิดปัญหาขึ้นอย่างทันท่วงที ระบบน้ำประปา (Water Treatment System) หรือ ระบบผลิตน้ำประปา คือ ระบบน้ำดีที่นำน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่น น้ำบาดาล น้ำผิวดิน บึง ฯลฯ มาเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำประปา เพื่อทำให้ได้น้ำประปาที่มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับใช้เพื่ออุปโภค-บริโภคในการดำรงชีวิตประจำวัน การใช้น้ำประปาของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกันตังมีน้ำใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 100 โดยมีสถานีจ่ายน้ำเพื่อให้การบริการประชาชนอยู่ที่ตำบลควนธานีดูแลให้บริการน้ำอุปโภค บริโภคตามแนวถนนตรัง - กันตัง สำหรับแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปานำมาจากแม่น้ำตรัง จำนวนแหล่งผลิตจ่ายน้ำประปามีจำนวน 1 แห่ง คือ การประปาส่วนภูมิภาคสาขากันตัง โดยครัวเรือนที่ใช้น้ำประปามีจำนวนทั้งหมด 2,720 ครัวเรือน ดังนั้นหากน้ำประปาที่แจกจ่ายให้กับประชาชนไม่มีคุณภาพหรือมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ในการนี้ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาในชุมชน เพื่อส่งเสริมความรู้แก่เครือข่ายอาสาสมัครและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์คุณภาพน้ำประปาในชุมชน รายงานสถานการณ์ คุณภาพน้ำประปาอย่างสม่ำเสมอให้ผู้รับผิดชอบทราบ และเพื่อลดปัญหาน้ำประปาปลายท่อในชุมชน และมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปา คุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย ปี 2563 ร้อยละ 80 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
25 มิ.ย. 67 | กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้ | 30 | 5,700.00 | ✔ | 3,300.00 | |
26 มิ.ย. 67 - 5 ก.ค. 67 | กิจกรรมตรวจคุณภาพน้ำประปา | 0 | 14,300.00 | ✔ | 14,361.00 | |
4 ก.ค. 67 | กิจกรรมประชุมติดตามการดำเนินงานของคณะทำงานเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ | 0 | 2,700.00 | - | ||
รวม | 30 | 22,700.00 | 2 | 17,661.00 |
- ขั้นเตรียมการ
1.1 เสนอโครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
1.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ
1.3 จัดซื้อและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ
(อ.31) ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง (อ.11) สำลี ถุงมือทางการแพทย์ แอลกอฮอล์ กระปุกสำหรับใส่สำลี เป็นต้น - ขั้นดำเนินการ
2.1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาทั้งก่อน-ระหว่าง-หลัง การดำเนินโครงการเพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการ
2.2 กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาและฝึกการตรวจคุณภาพน้ำประปาให้แก่เครือข่ายอาสาสมัครในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ จำนวน 1 ครั้ง
2.2 กิจกรรมตรวจคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ทุก 4 เดือน
- วางแผนลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง
- ตรวจคุณภาพน้ำประปา/แปลผลการตรวจ
- แจ้งผลการตรวจคุณภาพน้ำประปาให้ผู้บริหาร หน่วยผลิตที่ให้บริการในพื้นที่ทราบ
- ขั้นประเมินผลการดำเนินการ 3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
- คุณภาพน้ำประปาผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย ปี 2563
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 13:17 น.