โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L6895-05-36 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 26 เมษายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.41,99.519place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ปรากฎการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักอย่างรุนแรงของการปฏิบัติหน้าที่ของชุมชนหรือสังคม โดยก่อให้เกิดความสูญเสียของมนุษย์ วัตถุ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ซึ่งเกินกว่าความสามารถของชุมชนหรือสังคมที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจะรับมือได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ภัยพิบัติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น (MRC, 2556) สถานการณ์และแนวโน้มของภัยพิบัติในประเทศไทยปัจจุบันที่มีทั้งอุทกภัย วาตภัย ภัยจากไฟป่า แผ่นดินไหว ภัยแล้ง โรคระบาด และภัยอื่น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม และพายุหมุนเขตร้อน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในลักษณะเป็นศูนย์กลางของภาคพื้นเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่มีเหตุการณ์ไม่สงบสุข ทำให้เกิดปัญหาของภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ภัยจากกับระเบิด ภัยจากการอพยพ/ย้ายถิ่นฐานอย่างผิดกฎหมาย ภัยจากการก่อการร้าย เป็นต้น นอกจากนั้น การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและด้านอุตสาหกรรม ได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์อีกหลายประการ เช่น ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ภัยจากการคมนาคมและขนส่ง อัคคีภัย เป็นต้น ซึ่งภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น มีระดับความรุนแรง ความล่อแหลม ความเสี่ยงภัย และการบริหารจัดการ (ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม, 2556) ภัยพิบัติสามารถส่งผลกระทบต่อความเสียหายทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียชีวิต บาดเจ็บ ไร้ที่อยู่ ขาดที่ทำกิน พิการ อุปกรณ์การทำงานสูญหาย กระทบต่อสภาพสังคม วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต รวมทั้งมีผลกระทบต่อจิตใจของผู้ประสบภัย นอกจากนี้ภัยพิบัติทำให้เกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่างๆ เช่น โรคติดต่อที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ โรคติดต่อที่นำโดยแมลง โรคติดต่อที่เกิดจากซากศพ โรคอื่นๆ ที่เป็นผลจากภัยพิบัติ ทางศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง จึงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง จัดทำโครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2567 ขึ้น เพื่อรับมือโรคระบาดหรือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ
|
||
2 | เพื่อให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ได้
|
||
3 | เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด และส่งเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
- เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและดำเนินการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรค เช่น
- การฝึกอบรมให้ความรู้แก่แกนนำในด้านการป้องกันและควบคุมโรค
- การจัดจ่ายยาเพื่อรักษาหรือควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
- การลงพื้นที่ตรวจรักษาและ/หรือการควบคุมโรคติดต่อ การบรรเทาโรค
- จัดซื้อ-จัดจ้างทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น ไวนิลประชาสัมพันธ์/ สปอตประชาสัมพันธ์
เป็นต้น
- ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านอนามัยและสาธารณสุข ในการป้องกันการติดเชื้อโรคระบาด
ต่าง ๆ เป็นต้น
4. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
- ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
- สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ได้
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด และส่งเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเมื่อประสบภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 15:18 น.