กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ25 มิถุนายน 2567
25
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียนโดย  แกนนำสุขภาพชุมชนโรงพยาบาลกันตัง 09.00 น. – 09.10 น. พิธีเปิด 09.10 น. – 10.00 น. บรรยายเรื่อง  โรคและความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 10.00 น. – 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. – 12.00 น. บรรยายเรื่อง  อาหารกับสุขภาพช่องปากผู้สูงวัยโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 12.00 น. – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 15.00 น. แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้  3  ฐาน  คือ - ฐานที่  1  การแปรงฟันที่ถูกวิธีโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง - ฐานที่  2  การใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและฟันโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง - ฐานที่  3  การเสริมสร้างความแข็งแรงของช่องปาก/การนวดกระตุ้นต่อมน้ำลายโดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 15.00 น. – 15.30 น.  กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุโดย  ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 15.30 น. – 16.00 น. - ประเมินความพึงพอใจ - ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงอายุในชุมชนโรงพยาบาลกันตังที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน ในเรื่อง  โรคและความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ  อาหารกับสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย  แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้ 3 ฐาน คือ  ฐานที่ 1 การแปรงฟันที่ถูกวิธี  ฐานที่ 2 การใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและฟัน  ฐานที่ 3 การเสริมสร้างความแข็งแรงของช่องปาก/การนวดกระตุ้นต่อมน้ำลาย  โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง  เมื่อวันที่  25  มิถุนายน  2567  ณ  ที่ทำการชุมชนโรงพยาบาลกันตัง  ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน  50  คน
  2. ผลการตรวจสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ  ซึ่งมีผู้สูงอายุสนใจเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน จำนวน 40 คน พบว่า มีปัญหาฟันผุต้องถอน จำนวน  10 คน  ฟันผุต้องอุด จำนวน  6 คน  มีหินปูน  จำนวน 20 คน  มีฟันแท้คู่สบอย่างน้อย 4 คู่  จำนวน 18 คน  ในรายที่มีปัญหา แนะนำไปรับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตังและโรงพยาบาลกันตัง
  3. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม เป้าหมายจำนวน 50 คน ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน 50  ชุด ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 90.6 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ย 4.53