กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนโรงพยาบาลกันตัง ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6895-02-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 16,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ นับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ ให้การยกย่องนับถือ เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยทำงาน สำหรับประเทศไทย  สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สังคม จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือเกื้อกูลให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งวัยสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน และพึ่งพาตนเองได้น้อยลง เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเสื่อมของร่างกาย และเจ็บป่วยได้ง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะกระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม ผู้สูงอายุ เป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพครั้งล่าสุดในปี 2557 พบว่าผู้ที่มีอายุ 60-74 ปี เสียฟันทั้งปากแล้ว ร้อยละ 7.2 และสูญเสียบางส่วนเกือบทุกคน ส่งผลให้เกิดความต้องการฟันเทียมทั้งปากเพื่อการเคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้น  อีกทั้งโรคในช่องปากที่นำไปสู่การสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุ  ทั้งโรคฟันผุ โรคปริทันต์และรากฟันผุเป็นโรคเรื้อรังที่สะสมมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ความชุกและความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปเพราะ "ฟัน" คือปราการด่านแรกของกระบวนการเผาผลาญอาหาร ฟันที่ดีและแข็งแรง จะช่วยบดเคี้ยวอาหารที่ดีส่งไปสู่ลำไส้ และต่อเนื่องไปถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตามมา "ฟัน" จึงเป็นอวัยวะอันดับต้นๆ ที่เราต้องใส่ใจ  ในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น เป็นกลุ่มที่พบการสูญเสียฟันอย่างชัดเจน การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 10 ซี่/คน  อาจกล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร การปราศจากฟันทั้งปาก ซึ่งเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างชัดเจน ดังนั้นสุขภาพช่องปากจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุที่สภาพร่างกายเริ่มทรุดโทรมจากการใช้งาน การมีสุขภาพช่องปากที่ดีส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายได้สารอาหารครบถ้วน ที่จะไปช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป ทางกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนโรงพยาบาลกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี จึงได้จัดทำโครงการชุมชนโรงพยาบาลกันตัง ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย ปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญ ในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการแก้ไข

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุม/ประชาคม
  2. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน
  3. ประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 15 คน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการเชิญชวนผู้สูงอายุในชุมชนเข้าร่วมโครงการ
  5. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
  6. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงอายุในชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน ในเรื่อง   1) โรคและความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)   2) อาหารกับสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง)   3) แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้ 3 ฐาน (วิทยากรประจำฐานๆ ละ 1 คน) (ทฤษฎี+ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง) คือ

- ฐานที่ 1 การแปรงฟันที่ถูกวิธี - ฐานที่ 2 การใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและฟัน - ฐานที่ 3 การเสริมสร้างความแข็งแรงของช่องปาก/การนวดกระตุ้นต่อมน้ำลาย 8. ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ โดยทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข หากพบความผิดปกติ จะประสานส่งต่อไปรับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
9. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม 10. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุในชุมชนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 16:58 น.