กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง ”
ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นายสกุล เล็งลัคน์กุล




ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง

ที่อยู่ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 2567-L7161-1-9 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 2567-L7161-1-9 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 70,510.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเด็กไทย อายุต่ำกว่า 15 ปี โดยแหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตมากที่สุด คือแหล่งน้ำธรรมชาติ รองลงมาคือสระว่ายน้ำ และอ่างอาบน้ำ ตามลำดับ โดยในเขตเทศบาลเมืองเบตงก็มี ลำคลองที่สำคัญไหลผ่านไปทั่วเมืองแทบทุกชุมชน เมื่อฝนตกหนักลำคลองบางช่วงก็มีน้ำขึ้นสูงและน้ำไหลเชี่ยวแรงอยู่เป็นประจำ จึงมีจุดเสี่ยงต่อการจมน้ำกระจายอยู่ในหลายชุมชน ประกอบกับโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเบตง ไม่มีการกำหนดวิชาว่ายน้ำอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กลุ่มอายุที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด คือเด็กอายุ 5-9 ปี (ร้อยละ 42.1) รองลงมาคือ อายุ 0-4 ปี (31.5) และอายุ 10-14 ปี (26.4) เพศชายจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.2 เท่าตัว และข้อมูลผู้เสียชีวิตในอำเภอเบตง ข้อมูลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2564 - 2566) มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำจำนวนปีละ 1-2 ราย มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม) (ข้อมูลจากงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเบตง) การสร้างภูมิคุ้มกันต่อการจมน้ำ สำรวจจุดเสี่ยงและหาแนวทางป้องกันการจมน้ำในพื้นที่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่เยาวชนในพื้นที่ได้ นอกจากนี้หากเกิดการจมน้ำขึ้น คนในชุมชนก็ควรมีทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำเบื้องต้นอย่างถูกวิธี เพราะบ่อยครั้งที่พบว่าการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธีแทนที่จะเป็นการช่วยเหลือกลับกลายเป็นเพิ่มความสูญเสียมากยิ่งขึ้น และแม้ว่าจะช่วยผู้ประสบเหตุขึ้นมาจากน้ำได้แล้วอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญคือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ประสบเหตุได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง จึงเห็นความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตงขึ้น เพื่อให้มีการค้นหาพื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชนและทำสัญลักษณ์แจ้งเตือนพร้อมติดตั้ง ทำอุปกรณ์ป้องกันการจมน้ำบริเวณจุดเสี่ยงในชุมชน
อนึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำ การช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกวิธี ตลอดจน การปฐมพยาบาลคนจมน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชน สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเองตลอดจนคนรอบข้างให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. (เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  2. เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยเหลือผู้จมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
  3. เพื่อค้นหาจุดเสี่ยงและทำแผนที่จุดเสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชนตลอดจนวางแผนป้องกันได้
  4. เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดเตรียมความพร้อมโครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง
  2. อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการช่วยคืนชีพเบื้องต้น
  3. กิจกรรมฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยเหลือผู้จมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
  2. สามารถค้นหาจุดเสี่ยงและทำแผนที่จุดเสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชนตลอดจนวางแผนและอุปกรณ์ป้องกันได้
  3. แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดเตรียมความพร้อมโครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง

วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อเตรียมความพร้อมกิจกรรมโครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง ดังนี้ 1. ไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 เมตร 2. วัสดุอุปกรณ์ช่วยคนจมน้ำประจำจุดเสี่ยง จำนวน 10 จุด (แกลลอน,เชือก ฯลฯ) 3. ไวนิลแจ้งเตือนจุดเสี่ยงพร้อมติดตั้ง จำนวน 10 จุด 4. จัดเตรียมที่พักให้แก่วิทยากร จำนวน 3 คืน 5. จัดเตรียมค่าเดินทางให้แก่วิทยากร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับอุปกรณ์กิจกรรมโครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง ครบถ้วนและพร้อมจัดกิจกรรม

 

0 0

2. อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการช่วยคืนชีพเบื้องต้น

วันที่ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 อภิปรายให้ความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ประกอบด้วย 1. การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในผู้ใหญ่ 2. การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในเด็ก 3. การช่วยเหลือกรณีมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ 4. จุดเสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชนและการป้องกัน กิจกรรมที่ 2 แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นจาการจมน้ำ ประกอบด้วย 1. การช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำ 2. ตะโกนโยนยื่น 3.การประเมินและปฐมพยาบาลคนจมน้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หลังการอบรม พบว่าผู็เข้ารับการอบรม 38 ราย สามารถลงฝึกในน้ำได้ สามารถสาธิตการปฏิบัติย้อนกลับได้ถูกต้องทุกรายและ 7 รายไมาสามารถลงฝึกในน้ำได้ โดยใช้วิธีประเมินโดยการอธิบายขั้นตอน สามารถอธิบายและตอบคำถามที่วิทยากรถามได้ทุกราย
  2. ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถ ร่วมวิเคราะห์และกำหนดจุดเสี่ยงในชุมชนออกมาเป็นแผนที่ได้ทั้ง 4 ชุมชน และนำอุปกรณ์ช่วยเหลือ ได้แก่ เชือก ห่วงชูชีพ แกลลอน และไวนิลเตือน ไปติดตั้งหลังจากได้หารือกับคณะกรรมการชุมชนต่อไป
  3. พบว่าผู้เข้าร่วมอบรมทั้ง 45 ราย สามารถสาธิตการปฏิบัติย้อนกลับได้ถูกต้องทุกราย

 

45 0

3. กิจกรรมฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำ

วันที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำ กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หลังการอบรม พบว่าผู็เข้ารับการอบรม 38 ราย สามารถลงฝึกในน้ำได้ สามารถสาธิตการปฏิบัติย้อนกลับได้ถูกต้องทุกรายและ 7 รายไมาสามารถลงฝึกในน้ำได้ โดยใช้วิธีประเมินโดยการอธิบายขั้นตอน สามารถอธิบายและตอบคำถามที่วิทยากรถามได้ทุกราย
  2. พบว่าผู้เข้าร่วมอบรมทั้ง 45 ราย สามารถสาธิตการปฏิบัติย้อนกลับได้ถูกต้องทุกราย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 (เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยเหลือผู้จมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
ตัวชี้วัด : ให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยเหลือผู้จมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ ร้อยละ80%
0.00

 

3 เพื่อค้นหาจุดเสี่ยงและทำแผนที่จุดเสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชนตลอดจนวางแผนป้องกันได้
ตัวชี้วัด : ค้นหาจุดเสี่ยงและทำแผนที่จุดเสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชนตลอดจนวางแผนป้องกันได้ ร้อยละ 80%
0.00

 

4 เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
ตัวชี้วัด : ให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ร้อยละ 80%
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) (เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค) (2) เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพ  และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยเหลือผู้จมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ (3) เพื่อค้นหาจุดเสี่ยงและทำแผนที่จุดเสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชนตลอดจนวางแผนป้องกันได้ (4) เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพ และจิตอาสาในชุมชนมีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดเตรียมความพร้อมโครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง (2) อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการช่วยคืนชีพเบื้องต้น (3) กิจกรรมฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองเมื่อจมน้ำ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการชุมชนปลอดภัย ร่วมกันป้องกันการจมน้ำ เทศบาลเมืองเบตง จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 2567-L7161-1-9

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสกุล เล็งลัคน์กุล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด