โครงการรณรงค์โรคติดต่อตามฤดูกาล
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์โรคติดต่อตามฤดูกาล |
รหัสโครงการ | 67-L3024-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 9,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอุรารัตน์ กลามอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.604,101.673place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 5 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๖๗ (๓) บัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๖) และ (๓๙) บัญญัติให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ปัจจุบันการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มจำนวนประชากรเกิดอย่างรวดเร็วเพราะเมื่อใดก็ตามที่ประชาชนเกิดความเจ็บป่วยหรือเกิดโรคขึ้น จะทำให้ต้องสูญเสียเงินค่ารักษาพยาบาล สูญเสียเวลาในการประกอบอาชีพ สูญเสียรายได้ และอาจต้องสูญเสียชีวิติได้ โดยทั่วไปจะพบว่าประชาชนเป็นจำนวนมากมีสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ มีการเจ็บป่วย ความพิการ และเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรด้วยโรคที่ทราบสาเหตุ และสามารถป้องกันได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดเนื่องจากความบกพร่องและไม่ตระหนักในความสำคัญของการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และการจัดการการรักษาพยาบาลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพตลอดทั้งความเหมาะสมในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน การมุ่งหวังให้ประชาชน “มีสุขภาพดีถ้วนหน้า” ได้ย่อมหมายถึงการกระทำใด ที่จะกำจัดสิ่งต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน นั่นคือการที่สามารถป้องกันโรค และเมื่อเจ็บป่วยสามารถวินิจฉัยโรคตั้งแต่แรกเริ่มได้ และได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ตลอดทั้งการได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพดีถ้วนหน้านั้น ได้มีการจัดการบริการสุขภาพ โดยมีองค์ประกอบของการบริการสุขภาพ จะเห็นได้ว่า การควบคุม และป้องกันโรคมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และชุมชน เนื่องจากในปัจจุบันพบว่ามีการระบาดของโรคติดต่อตามฤดูกาลเกิดขึ้นหลายโรค ตลอดทั้งปีมีการระบาดของโรคติดต่อตามฤดูกาลมากมาย อาทิโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ โรคไข้เลือดออก โรคพิษสุนัขบ้า และโรคคอตีบเป็นต้น ซึ่งในชุมชนและสถานศึกษาเป็นแหล่งที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่เชื้อโรค อาจทำให้เกิดการระบาดในกลุ่มนักเรียน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และลดผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง จึงได้จัดทำโครงการ รณรงค์โรคติดต่อตามฤดูกาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเขตตำบลไทรทอง ได้มีความรู้ และความสามารถป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อตามฤดูกาล และตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑ เพื่อให้นักเรียนรับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล ๒ เพื่อให้ประชาชนในตำบลไทรทองรับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีความตระหนักรู้จักป้องกันโรคตามฤดูกาล นักเรียน และครูโรงเรียนวัดสารวัน จำนวน ๓๕ คน |
100.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑ ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการ
๒ จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติขั้นตอน
๓ อบรมให้ความรู้ เรื่องโรคตามฤดูกาล
๔ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในตำบลไทรทอง ม.๑ -๕ ตามลักษณะการเกิดโรคและการประเมินสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาดขึ้นตามฤดูกาลนั้นๆ
๕ ติดตามผลโครงการ
๑ นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล ๒ ประชาชนมีความตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีในการป้องกันโรคติดต่อตามฤดูกาล
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2567 11:28 น.