กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6895-02-34
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ตลอดจนมีเป้าหมายให้ผู้เรียน เป็นคนเก่งและมีความสุข มุ่งเน้นให้ค้นพบความสามารถและความถนัด มาตรา 6 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติได้เน้นให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานของคุณภาพชีวิตในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นแนวทางใหม่ในการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่เยาวชนรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์กลางในการสร้างสุขภาพที่ดีแก่เยาวชนในชุมชน นักเรียนทุกคนจะต้องทราบนโยบายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน การพัฒนาสุขภาพของโรงเรียนโดยส่งเสริมให้ทุกคนมาให้ความสำคัญ และรู้จักปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเอง ตลอดทั้งสามารถควบคุมมูลเหตุ ปัจจัยและสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของการใช้สถานศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางของการสร้างสุขภาพแก่เด็ก เพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี
การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น เป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ และตื่นตัวที่จะหามาตรการ และวิธีการป้องกันแก้ปัญหา ทั้งนี้เพราะเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิตของประชากรทุกกลุ่มวัยตั้งแต่ แรกคลอด วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ รวมถึงวัยสูงอายุ เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่เป็นทุนทางประชากรที่สำคัญในการ พัฒนาประเทศชาติ การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในทุกด้าน ทั้งการดูแลตนเองและ ทารกในครรภ์ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อตัวแม่วัยรุ่นต่อทารกที่กำลังจะถือกำเนิดขึ้นมาได้มาก กว่าการตั้งครรภ์ในวัยผู้ใหญ่ กระบวนการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในแต่ละครั้งจะลงเอยได้ 3 ทาง คือ คลอดมีชีพ ตายคลอดหรือแท้ง ยังมีปัญหาอื่นที่มาพร้อมกับการตั้งครรภ์ ได้แก่ ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ ภาวะแทรกซ้อนทั้งแม่และเด็กตั้งแต่การตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด ปัญหาด้านสังคม แม่วัยรุ่นเสียโอกาสทางการศึกษา เรียนหนังสือไม่จบต้องออกจากโรงเรียนมารับบทบาทหน้าที่ความเป็นแม่ทั้งๆ ที่ยังไม่พร้อม ขาดการเตรียมตัวและเกิดปัญหาการทอดทิ้งเด็กตามมา รวมทั้งการสร้างความอับอายให้กับ ครอบครัว นำไปสู่ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาและการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นต้องอาศัยกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตั้งแต่วัยรุ่น ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน พื้นที่ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์แนวทาง กิจกรรมการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เพศศึกษารอบด้านเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นมิตร รวมทั้งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ส่งเสริมให้ ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูลูกวัยรุ่น โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตและพฤติกรรม เชิงบวก พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือให้สอดคล้องปัญหาและความต้องการของวัยรุ่น ท้องถิ่นมีแผนการพัฒนา คุณภาพชีวิตวัยรุ่น สนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณในการส่งเสริมกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์จัดสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพวัยรุ่นรวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว ทางโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษีร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองกันตัง ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการวัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี ปี 2567  ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียน

 

2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการและเสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทม.กันตัง
  2. วางแผนการดำเนินการ ติดต่อประสานวิทยากรและผู้เกี่ยวข้อง
  3. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ –ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน ๑๐๐ คน โดยให้ความรู้ดังนี้   - บรรยายเรื่อง สถานการณ์การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรก่อนวัยอันควร (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)   - บรรยายเรื่อง เพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)   - บรรยายเรื่อง การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร/การคุมกำเนิด (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง)   - แบ่งกลุ่มนักเรียนเข้าฐานการเรียนรู้ 3 ฐานคือ (ทฤษฎี+ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)         ฐาน 1 ทักษะชีวิต วัยรุ่นวุ่นรัก
            ฐาน 2 การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การคุมกำเนิด     ฐาน 3 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV และ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  4. ประเมินความรู้นักเรียนก่อน-หลังเข้ารับการอบรม
  5. สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนลดลง
  2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 09:35 น.