โครงการความปลอดภัยการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่สั่งซื้อทางออนไลน์ในกลุ่มประชาชนตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ชื่อโครงการ | โครงการความปลอดภัยการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่สั่งซื้อทางออนไลน์ในกลุ่มประชาชนตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
รหัสโครงการ | 67-L1520-01-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง |
วันที่อนุมัติ | 15 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 สิงหาคม 2567 - 20 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 20 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 16,135.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายธวัช ใสเกื้อ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.862,99.365place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เครื่องสำอางตามพระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทาถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือ กระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกาย มนุษย์ และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและ เยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกายหรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ นั้นให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิน ต่างๆ สหรับผิวรวมถึงวัตถุที่มุ่งหมายสหรับใช้เป็น ส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายประเภท เพื่อ วัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน และมีแนวโน้มการใช้สูงขึ้น จากการประเมินของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า ตลาดเครื่องสำอางของไทยปี 2562-2566 จะเติบโต ราว 7.14% มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.68 แสนล้าน 2 ในขณะที่รัฐบาลสนับสนุน Thai Herb 4.0 ในการ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของสมุนไพร 3 ประกอบ กับประชาชนนิยมใช้ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ส่งผล ให้เกิดการพัฒนาใช้สมุนไพรเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง สถานการณ์ปัจจุบันมีการอุปโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลากหลายประเภทในการซื้อขายออนไลน์ที่เราอาจจะไม่รู้แหล่งในการซื้อหรือแหล่งผลิต ทั้งประเภทที่มีการผลิตและจําหน่ายในประเทศไทย รวมถึงประเภทที่มีการผลิตและนําเข้าจากต่างประเทศ เครื่องสําอางเหล่านี้มีทั้ง ชนิดที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย เครื่องสําอางชนิดที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ เครื่องสําอางที่มีฉลากเครื่องสําอางไม่ถูกต้อง เครื่องสําอางที่ไม่มีเลขที่จดแจ้ง หรือเครื่องสําอางที่มีเลขที่จดแจ้งไม่ตรงตามข้อมูลจริง เพราะไม่ได้ผ่านการจดแจ้ง รายละเอียดเครื่องสําอางจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เครื่องสําอางเหล่านี้ส่งผลต่อความ ปลอดภัยของผู้บริโภค เพราะอาจมีการลักลอบผสมสารอันตรายห้ามใช้ ได้แก่ สารปรอท/แอมโมเนียไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอและสเตียรอยด์ในเครื่องสําอาง อันตรายจากการใช้เครื่องสําอางที่มีสารปรอท/แอมโมเนียเป็น เวลานานส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดภาวะผิวหน้าดํา ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอททําให้ทางเดินปัสสาวะและไต อักเสบ ทําให้มีการสะสมปรอทในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทําให้ตับ และไตผิดปกติ อันตรายจากการใช้ เครื่องสําอางที่มีสารไฮโดรควิโนนเป็นเวลานานทําให้เกิดฝ้าถาวรที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ อันตรายจากการใช้ เครื่องสําอางที่มีกรดวิตามินเอเป็นเวลานานอาจส่งผลทําให้ผิวหน้าอักเสบ ลอกอย่างรุนแรง และทําให้ทารกพิการได้ ส่วนอันตรายจากการใช้เครื่องสําอางที่มีสารสเตียรอยด์ผสมอยู่จะส่งผลทําให้ผิวหน้าบางลงหน้าแดง และเห็นเส้น เลือดฝอยชัดเจน บางครั้งอาจเป็นตุ่มหนองเล็กๆ ผื่นแพ้ และสิวจากสเตียรอยด์ ซึ่งรักษาให้หายยาก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทุ่งค่ายจึงได้จัดทําโครงการอบรมให้ความรู้การใช้เครื่องสําอาง ไร้สเตียรอยด์ในกลุ่มวัยทํางาน ประจําปี 2564 เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ใน ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางและประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มประชาชนที่นิยมอุปโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ซื้อทางออนไลน์เป็นประจำได้รับการตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ตนเองใช้ได้ กลุ่มประชาชนที่นิยมอุปโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ซื้อทางออนไลน์เป็นประจำได้รับการตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ตนเองใช้ได้ ร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือน |
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้โทษอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารปรอทปนเปื้อน อัตราป่วยมีอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็น 0 |
||
3 | เพื่อให้อัตราของเหตุการณ์อาการแพ้จากการใช้เครื่องสำอาง ไม่มีอุบัติการณ์ซ้ำการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้วเกิดอันตราย |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
19 ส.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 | ประชาสัมพันธ์โครงการ (ป้ายไวนิลความรู้เรื่องสารรับสารปรอท พร้อมโครงไม้ ขนาด 1.8*2.4 เมตร) จำนวน 5 ป้าย | 0 | 9,000.00 | - | ||
19 ส.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 | ประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายไวนิลโครงการ | 0 | 300.00 | - | ||
19 ส.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 | กิจกรรมการตรวจคัดกรองสารปรอท ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง | 150 | 5,435.00 | - | ||
19 ส.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 | กิจกรรมการให้ความรู้โทษของการใช้เครื่องสำอางที่มีสารปรอทปนเปื้อน | 0 | 1,400.00 | - | ||
รวม | 150 | 16,135.00 | 0 | 0.00 |
- กลุ่มประชาชนที่นิยมอุปโภคผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ซื้อทางออนไลน์เป็นประจำได้รับการตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ตนเองใช้
- เพื่อให้กลุ่มประชาชนได้รับความรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอย่างปลอดภัย
- ลดความเสี่ยงต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ซื้อทางออนไลน์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2567 11:22 น.