โครงการส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | L1479-68-03-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกร |
วันที่อนุมัติ | 21 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 25 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,260.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวทิพย์สุดา เพ็ชรสีช่วง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.101,99.581place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 ก.พ. 2568 | 28 ก.พ. 2568 | 15,260.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,260.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 71 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลและเป็นอนาคตของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เด็กจะมีสุขภาพที่แข็งแรง เติบโตสมวัย มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่และดีที่สุดในทุกด้าน พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ และสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อม ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก
อุบัติเหตุที่มีอัตราการเกิดขึ้นสูงสุดก็คือ การขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งเด็กบางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ เช่น ขาดประสบการณ์และทักษะในการขับขี่ ประมาท ชอบความเสี่ยง คิดว่าตัวเองเก่ง ชอบขับขี่เร็วด้วยความคะนองตามวัย ไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย เพื่อนยุ เมาแล้วขับ ไม่เคารพกฎจราจร ขาดจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนน ไม่ใส่ใจในความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมทาง พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้การเกิดอุบัติเหตุในเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในวัยกำลังศึกษามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ขับขี่ในช่วงอายุอื่น ประเทศไทยพบปัญหาการสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนมีอัตราเพิ่มขึ้น ทุกๆ ปี โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถจักยานยนต์ มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 คน และในช่วงเทศกาลจะพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นชั่งโมงละ 3 คน ผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่จะอายุเฉลี่ยต่ำกว่า 15 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทุกๆ ปี
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกร ได้เล็งเห็นความสำคัญของความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเกาะสุกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย และ เพื่อให้คำแนะนำล่วงหน้าแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ ครู ผู้ดูแลเด็ก รู้วิธีป้องกันและการเอาตัวรอดจากลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย เช่น การขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย การซักซ้อมป้องกันเด็กจมน้ำ การซักซ้อมการติดอยู่ในรถยนต์ และการซักซ้อมป้องกันอัคคีภัย ฯลฯ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.1 เพื่อให้เด็ก และคณะครู ผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพ 1.2 เพื่อให้เด็กมีทักษะในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุได้ 1.3 เพื่อให้เด็ก และคณะครู ผู้ดูแลเด็กมีความตื่นตัวในสร้างวัฒนธรรมการป้องกันความปลอดภัยของเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง 1.4 เพื่อลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กปฐมวัย
|
60.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เด็ก และคณะครู ผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพ
- เด็กมีทักษะในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุได้
- เด็ก และคณะครู ผู้ดูแลเด็กมีความตื่นตัวในสร้างวัฒนธรรมการป้องกันความปลอดภัยของเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง
- จำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กปฐมลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 15:33 น.