กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
รหัสโครงการ L1479-68-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.ตำบลเกาะสุกร
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2567 - 28 กุมภาพันธ์ 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2568
งบประมาณ 10,932.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุภาพ เทศนอก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.101,99.581place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2567 28 ก.พ. 2568 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,932.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วยจากการสำรวจร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 – 49 ปี ที่ได้รับการคัดกรอง ภาวะโลหิตจาง ในขณะที่ไม่ได้ ตั้งครรภ์ และพบภาวะโลหิตจางในอำเภอปะเหลียน ปี 2567 คือ 43.7% โลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์มีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจาง และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีทนิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 24 ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง 2. เพื่อให้ความรู้และแนวทางการดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พบปัญหาภาวะโลหิตจาง ให้การดูแลและส่งเสริมที่ถูกวิธี
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 24 ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 95
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 24 ปี ที่พบปัญหาภาวะโลหิตจางได้รับการรักษา ร้อยละ 95
60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 24 ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 95
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 24 ปี ที่พบปัญหาภาวะโลหิตจางได้รับการรักษา ร้อยละ 95
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 16:04 น.