ปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงวัยฟันดีตำบลกอตอตือร๊ะ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | ปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงวัยฟันดีตำบลกอตอตือร๊ะ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4152-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจือแร |
วันที่อนุมัติ | 18 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 35,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอามีน มาโซ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางนุชรีย์ อับดุลคานาน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.5,101.389place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 232 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ โดยข้อมูลปีพ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 12.๒ ล้านคนจากจำนวนประชากรรวม 66 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรรวม และคาดว่า ในปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจือแร พ.ศ.2567 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-74 ปี มีฟันถาวรใช้งานอย่างน้อย 20 ซี่ เฉลี่ย 6.23 ซี่/คน คิดเป็นร้อยละ 23.4 มีฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่สบ และลดลงในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ 80-85 ปี มีเพียงร้อยละ 18.6 ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ เฉลี่ย 4.76 ซี่/คน และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบ เพียงร้อยละ 9.2 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงอย่างชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น จำนวนมากกว่าครึ่งที่มีฟันถาวรใช้งานได้ 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลืออยู่นั้น ยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ซึ่งปัญหาสำคัญ ได้แก่ การสูญเสียฟัน โดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปาก ในผู้สูงอายุ 60-74 ปี พบร้อยละ 12.7 แต่เมื่ออายุ 80-85 ปี เพิ่มสูงถึงร้อยละ 56.2 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52.5 รากฟันผุที่สัมพันธ์กับเหงือกร่นในวัยสูงอายุร้อยละ 17.4 โรคปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อและกระดูกรองรับรากฟันร้อยละ 36.7
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
8.1 อัตราการเกิดโรคฟันผุ และปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุลดลง
8.2 ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชน ในชุมชนได้
8.3 ผู้สูงอายุสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
8.4 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อบริการทันตกรรม และเข้าถึงบริการทันตกรรม
8.5 เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 11:35 น.