เครื่องเทศใกล้มือ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | เครื่องเทศใกล้มือ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4152-02-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมนมแม่ตำบลกอตอตือร๊ะ |
วันที่อนุมัติ | 20 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 เมษายน 2568 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเจ๊ะวารี หะมีแย |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางนุชรีย์ อับดุลคานาน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.5,101.389place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 30 เม.ย. 2568 | 30 เม.ย. 2568 | 30,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 30,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เครื่องเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารหลายชนิดทั่วโลก ปัจจุบันเครื่องเทศเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตและการค้า หลายชนิดสามารถเพาะปลูกได้ดีในประเทศและสามารถส่งออก ตลอดจนทดแทนการนำเข้ามาใช้ในประเทศได้ แต่ในขณะเดียวกันเครื่องเทศยังมีบทบาทสำคัญทางการแพทย์มาแต่โบราณ เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาในการบำรุงร่างกาย รักษาโรค และป้องกันการติดเชื้อต่างๆ เครื่องเทศหลายชนิดถูกนำมาใช้ในระบบการแพทย์ทางเลือก เช่น แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน และแพทย์อายุรเวท เครื่องเทศเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยา ซึ่งถูกใช้มาอย่างยาวนาน มีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัวเนื่องจากส่วนต่างๆของเครื่องเทศที่เรานำมาใช้ประโยชน์มีองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกันไป องค์ประกอบทางเคมีเหล่านี้มีสรรพคุณทางยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง พืชเครื่องเทศยังเป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย (Aromatic Plant) น้ำมันหอมระเหยเป็นไขมันที่มีจุดเดือดต่ำระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง จึงเป็นส่วนสำคัญในการนำพาสารให้กลิ่นจากเครื่องเทศไปทำให้เราได้กลิ่นหอมของเครื่องเทศ พืชเครื่องเทศมีน้ำมันหอมระเหยมากได้แก่ ตะไคร้ กานพลู จันทน์เทศ มะกรูด พริกไทยขาว โหระพา เป็นต้น กลิ่นและรสชาติเครื่องเทศเหล่านั้นมีสารสำคัญที่มีสรรพคุณทางยาหลายชนิด การได้รับประทานอาหารที่ใช้เครื่องเทศปรุง แต่ง สี กลิ่น รส เป็นประจำจะทำให้ได้ประโยชน์จากสารต่าง ๆ เป็นผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโรคทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ โดยมีคุณค่าทางยา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาแต่โบราณ ซึ่งหมายถึงเครื่องเทศที่ผสมในอาหารช่วยป้องกันโรคอันเกิดจากการรับประทานอาหารนั้นด้วย จากเหตุผลข้างต้นจะเห็นได้ว่า เครื่องเทศมีประโยชน์การแพทย์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การช่วยระบบย่อยอาหาร การต้านอนุมูลอิสระ
การบรรเทาอาการปวด และการดูแลสุขภาพโดยรวม ดังนั้น การนำเครื่องเทศมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของอาหาร
ในชีวิตประจำวัน ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้รู้จักสรรพคุณสมุนไพรเครื่องเทศในครัวเรือน ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมรู้จักสรรพคุณสมุนไพรเครื่องเทศในครัวเรือน |
||
2 | เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรเครื่องเทศให้มีประโยชน์ทางการรักษาเบื้องต้น ร้อยละ 80 การใช้สมุนไพรเครื่องเทศให้มีประโยชน์ทางการรักษาเบื้องต้น |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
8.1 ประชาชนในตำบลกอตอตือร๊ะรู้จักสรรพคุณทางยาของสมุนไพรเครื่องเทศ 8.2 ประชาชนในตำบลกอตอตือร๊ะสามารถต่อยอดสมุนไพรเครื่องเทศในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ทางการรักษาเบื้องต้นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 13:44 น.