ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กตำบลกอตอตือร๊ะสุขภาพดี IQ ดี ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กตำบลกอตอตือร๊ะสุขภาพดี IQ ดี ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4152-02-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมนมแม่ตำบลกอตอตือร๊ะ |
วันที่อนุมัติ | 20 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 28 เมษายน 2568 - 29 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเจ๊ะวารี หะมีแย |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางนุชรีย์ อับดุลคานาน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.5,101.389place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 28 เม.ย. 2568 | 29 เม.ย. 2568 | 30,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 30,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 180 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กตั้งแต่ในครรภ์ เพื่อส่งเสริมการเกิด
ให้มีคุณภาพ ย่อมสัมพันธ์กับการพัฒนาสุขภาพอนามัยของแม่ เนื่องด้วยสุขภาพของแม่ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึง ระยะหลังคลอด ในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาโครงสร้างสมองสูงสุด อีกทั้งยังเป็นช่วง ของการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรค ระบบเผาผลาญ ระบบทางเดินอาหารของร่างกายให้สมบูรณ์ โรคหรือภาวะหลายอย่างที่พบในพ่อ แม่หรือที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบหรือมีอันตรายต่อทารก ในครรภ์ได้ เช่น ปัญหาการขาดสารอาหาร โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น ธาลัสซีเมีย ภาวะกลุ่มอาการดาวน์ โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เอดส์ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน รวมถึงโรคอายุรกรรมร้ายแรงที่ไม่ควรตั้งครรภ์เช่นโรคหัวใจ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ทารกสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องในการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย จากงานศึกษาวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ การมีโรคประจำตัวของมารดา ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ การได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก โฟเลตและไอโอดีน การฝากครรภ์ครั้งแรก ≤ 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ และปัจจัยด้านเด็กปฐมวัย ได้แก่ อายุครรภ์เมื่อคลอด น้ำหนักทารกเมื่อแรกเกิด การขาดออกซิเจน ที่ 1 นาที เด็กมีโรคประจำตัว มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ปัญหาขาดสารอาหาร น้ำหนักตามส่วนสูง ส่วนสูงตามอายุ และการเล่นกับเด็กโดยสื่อบุคคล ดังนั้น พื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากร ต้องเตรียมความพร้อม ของสตรีก่อนตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด รวมถึงการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเป็นผลให้เด็ก มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ (Full Potential Growth)
เป็นโอกาสทองในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีในอนาคต กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
มีแนวคิดเพื่อการพัฒนาประชากรกลุ่มแม่และเด็ก โดยการพัฒนาหน่วยบริการสาธารณสุขตามกระบวนการคุณภาพ การจัดระบบบริการที่ได้มาตรฐานตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ การคลอด และดูแลหลังคลอด โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ ทั่วประเทศและหน่วยงานภาคี ได้มีการพัฒนาระบบบริการเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กและมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และในปี
พ.ศ. 2567 กรมอนามัยได้พัฒนาโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก (Save mom) โดยการมีส่วนร่วมของหญิงตั้งครรภ์และอสม. ซึ่งจะขยายการดำเนินงานทั่วประเทศ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และทารกได้รับการวินิจฉัย
การดูแลรักษาและส่งต่อที่รวดเร็วทันเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการจัดการความเสี่ยงด้วยระบบเครือข่ายบริการสุขภาพระดับจังหวัด จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ที่ผ่านมาสุขภาพของแม่และเด็กดีขึ้นเป็นลำดับแต่ยังพบปัญหาบางประการที่ยังต้องพัฒนา โดยสถานการณ์งานแม่และเด็กปีงบประมาณ 2567 พบว่า อัตราส่วนการตายมารดาเท่ากับ 0 ต่อการเกิดมีชีพแสน หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 98.23 ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ร้อยละ 84.09 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมไอโอดีน ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 15.11 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 6.59 (HDC,11 กันยายน 2567) และส่งผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรได้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และไม่ตายจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ ร้อยละ 80 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรได้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และไม่ตายจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ |
||
2 | เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงต่อการคลอดบุตรน้ำหนักน้อย ร้อยละ 100 คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงต่อการคลอดบุตรน้ำหนักน้อย |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้สามารถดูแลตนเองและบุตรได้ร้อยละ 80
- หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
- ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้จากการคลอด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 10:35 น.