โครงการอาหารเป็นยาชีวาแข็งแรง
ชื่อโครงการ | โครงการอาหารเป็นยาชีวาแข็งแรง |
รหัสโครงการ | 2568-L7161-1-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลเมืองเบตง |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,675.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสกุล เล็งลัคน์กุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารของคนไทยหลายเรื่องยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน การกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ หากบริโภคอย่างไม่พอดี หรือไม่มีการออกกำลังกายร่วมด้วย อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs หรือ non-communicable diseases) อันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด นำไปสู่ผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาว และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูง จากรายงานผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยในปี 2560 – 2564 จากระบบข้อมูล H4U ของกรมอนามัย พบคนไทยเกินครึ่งกินผักไม่เพียงพอ การบริโภคน้ำตาลและไขมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการเจ็บป่วยของประชาชนในอำเภอเบตง โรงพยาบาลเบตง แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม มีนัดติดตามอาการ จำนวน 17,989 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 19,691 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2565 และจำนวน 22,470 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2566 (ข้อมูลวันที่ 30 ต.ค.2566) เห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่อำเภอเบตงมีแนวโน้มผู้ป่วยด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(non-communicable diseases ; NCDs) เพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้กลุ่มโรค NCDs นั้น ล้วนเกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรม การดำเนินชีวิตของตัวเองเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ด้านพฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ความเครียดสะสม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง และด้านพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม หวานจัด เค็มจัด มันจัด กินอาหารที่มีไขมันสูง หรือกินเกินความต้องการของร่างกาย โดยจะมีการสะสมอาการอย่างช้าๆ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะยิ่งทำให้เกิดการเรื้อรังของโรคตามมา ซึ่งเป็นผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง การป้องกันตนเองจากโรค NCDs นั้น ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแนวทาง 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ จากการศึกษาพบว่าถึงแม้จะมีการออกกำลังกาย และดูแลควบคุมอารมณ์อย่างดีแต่หากขาดการเลือกรับประทานอาหาร รวมถึงการปรุงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น หวาน มัน เค็ม ก็จะนำไปสู่โรค NCDs ตามมาในที่สุดในปัจจุบันการแพทย์ได้วิจัยออกมาแล้วว่าสมุนไพรไทยหลากหลายชนิดมีส่วนช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ อาหารเป็นยาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทา รักษา ส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน เพราะอาหารเป็นยา คือ อาหารที่มีผัก ผลไม้พื้นบ้าน และสมุนใพรในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบ ปลอดจากเชื้อโรค สารเคมี และสารพิษ มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมจึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง (NCDs) ตัวอย่างอาหารเป็นยาที่หาได้ง่ายใกล้ตัวเรา เช่น มะระขี้นก เป็นสมุนไพรรสขม มีสรรพคุณแก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร และมีสารสำคัญที่ชื่อ charantin ที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ บัวบก ทำให้การไหลเวียนของเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยมีการไหลเวียนดีขึ้น มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี จึงสามารถลดความดันโลหิตได้ พริกหยวก พริกหวาน พริกขี้หนู มีสารในกลุ่มนิโคติน ป้องกันและชะลอโรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน ขมิ้นชัน แก้โรคกระเพาะ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะ กะเพรา แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น แก้ลม ขับลม แจ้จุกเสียด แน่นในท้อง เป็นต้น จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอาหารเป็นยาชีวาแข็งแรง ในระหว่าง เดือน สิงหาคม - กันยายน 2567 ณ ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง จำนวน 14 ชุมชนได้แก่ ชุมชนสวนผัก ชุมชนเพลินจิต ชุมชนจาเราะกางา ชุมชนกาแป๊ะกอตอใน ชุมชนบูเก็ตตักโกร ชุมชนกือติง ชุมชนกุนุงจนอง ชุมชนวีระพันธ์ ชุมชนกองร้อย ตชด.445 ชุมชนพัฒนะ ชุมชนเบตงฮูลู ชุมชนหลังศาลจังหวัดเบตง ชุมชนฮางุส และชุมชนคงคาสามัคคี ที่ผ่านมา สามารถสรุปผลการดำเนินโครงการฯได้ ดังนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการฯมีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมเพิ่มขึ้น จาก 6.94 คะแนนก่อนการอบรม เป็น 9.14 คะแนนหลังการอบรม ในส่วนของผลการประเมินทัศนคติ คิดเป็นร้อยละ 88.14 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่มีความรู้และมีทัศนคติที่ดีในการเลือกบริโภคอาหาร รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างเหมาะสม พบปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการฯ ดังนี้ ในห้วงระยะเวลาเดือน สิงหาคม ที่ดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นช่วงฤดูฝน ส่งผลให้มีการเปลี่ยนสถานที่ในการจัดกิจกรรมโดยยืดหยุ่นไปตามบริบทของชุมชนนั้นๆ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุอาจมีข้อจำกัดในการมาเข้าร่วมกิจกรรม แต่แกนนำสุขภาพในชุมชนได้แบ่งปันเมนูอาหารไปให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวด้วย แสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรในชุมชนเป็นอย่างดี และการตั้งงบประมาณในส่วนของค่าวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการเตรียมเมนูอาหารแต่ละชุมชนนั้น มีหลายๆชุมชนแสดงความเห็นว่าไม่เพียงพอต่อการจัดเตรียมเมนู เป็นต้น ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง และมีความประสงค์จะดำเนินโครงการฯต่อเนื่องไปยังชุมชนอื่นๆ ในเขตเทศบาลเมืองเบตงที่ยังมิได้ดำเนินงานอีก 14 ชุมชน จึงได้จัดทำโครงการอาหารเป็นยาชีวาแข็งแรง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ในการเลือกบริโภคได้ถูกต้องอย่างเหมาะสม ตามหลักการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิถีอาหารเป็นยา อนึ่งการดำเนินโครงการฯดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารได้ถูกต้องอย่างเหมาะสมกับโรคและวัย
|
0.00 | |
2 | เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติในการบริโภคอาหารให้มีความถูกต้องเหมาะสมกับโรคและวัย
|
0.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้วัตถุดิบในการประกอบเมนูอาหารได้ตามบริบทของตนเองและครอบครัว
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,675.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 | กิจกรรม อบรมให้ความรู้และสาธิตการเตรียมเมนูอาหารเป็นยา ครั้งละ 1 เมนู | 0 | 20,675.00 | - |
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารได้ถูกต้องอย่างเหมาะสมกับโรคและวัย
- กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีในการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมกับโรคและวัย
- กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้วัตถุดิบในการประกอบเมนูอาหารได้ตามบริบทของตนเองและครอบครัว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 00:00 น.