โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
รหัสโครงการ | 2568-L7161-3-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 กุมภาพันธ์ 2568 - 4 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 272,862.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายทวีป จิรรัตนโสภา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดี จะนำมาสู่การเกิดปัญหาหรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุ จากผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินและคัดกรองสุขภาพ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning คือ รูปแบบหนึ่งของการศึกษาที่เริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยตัวเอง โดยไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็สามารถเรื่องรู้ได้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาเรียนรู้ไม่ได้จบแค่ในโรงเรียนหรือมหาลัยไม่ว่าคุณจะเป็นวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราก็ยังสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเอง และ Lifelong Learning เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณก้าวหน้าและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เหตุผลที่เราควรมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ บนโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในโลกของเทคโนโลยีและการสื่อสาร การเรียนรู้ตลอดชีวิตทำให้เราปรับตัว และชีวิตอยู่ได้ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำให้คุณรู้สึกว่ามีเป้าหมายในการมีชีวิตอยู่ที่ชัดเจนขึ้น ได้โฟกัสกับสิ่งที่คุณสนใจ และช่วยเติมเต็มคุณค่าในการมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความหมายมากขึ้น
ทักษะที่น่าสนใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Skills)
- Creativity หรือ ความคิดสร้างสรรค์ การมีความคิดสร้างสรรค์ทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างไม่มีกรอบและไม่จำกัด รวมถึงช่วยพัฒนาต่อยอดความคิดไปในด้านอื่นๆ อีกด้วย
- Problem Solving หรือ การแก้ปัญหา ทักษะการแก้ปัญหาถือเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต รวมถึงการพัฒนาการเรียนรู้เพราะเมื่อใดที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะสามารถแก้ไขได้เป็นอย่างดี
- Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการคิดแบบ Critical Thinking เป็นทักษะที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แตกต่าง เพราะเราจะกล้าคิด กล้าถามคำถามในสิ่งที่ต่างออกไป นับเป็นทักษะสำคัญในการเรียนรู้
- Leadership หรือ การเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำเป็นทักษะที่จะทำให้เรากล้าคิดกล้าทำและนำความรู้จากสิ่งที่เราเรียนรู้ไปถ่ายถอดให้ผู้อื่นได้อีกด้วย
- Communication หรือ การสื่อสาร การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญไม่ว่าคุณจะทำอะไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่การเรียนรู้หรือทำธุรกิจล้วนอยู่ในรูปแบบออนไลน์ การพัฒนาด้านการตลาดออนไลน์ก็จะยิ่งช่วยให้สื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Collaboration หรือ การประสานงาน นอกจากทักษะที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองแล้วการประสานงานหรือการทำงานกับผู้อื่นก็เป็นส่วนที่จะทำให้เราพัฒนาตัวเอง ก้าวหน้า และมองเห็นภาพรวมมากขึ้น
- Information Management หรือ การจัดการข้อมูล ในยุคที่มีข้อมูลมากมาย เราในฐานะผู้รับข้อมูลสามารถที่จะเลือกรับได้อย่างไม่จำกัด ทำให้การเรียนรู้มีมากมาย การจัดการข้อมูลและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เราพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในหลาย ๆ ด้านและนำไปใช้ในอนาคต
- Adaptability หรือ การปรับตัว การปรับตัวเป็นทักษะสำคัญในยุคปัจจุบันเพราะโลกและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวและเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบคาดเดาไม่ได้ในอนาคต
- Curiosity หรือ ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากรู้อยากเห็นเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ การกระหายความรู้เป็นสิ่งที่จะทำให้เราพัฒนาและเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้ตลอดชีวิต
สืบค้น https://www.hcu.ac.th/article/%20(Lifelong%20Learning) 6 ธันวาคม 2567
ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง ประสบกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับข้อมูลข้างต้น ที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย ไม่ว่าจะเป็นด้านโรคภัยการเข้าถึงรักษา การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย การโภชนาการที่อาหารมีจำกัดไม่สามารถออกไปจับจ่ายซื้อหาได้อย่างสะดวก และสุขภาพจิต การขาดความปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมขาดทักษะที่สร้างความสัมพันธ์ทันยุคสมัย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองเบตง ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง มีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดีมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และท้ายที่สุดโรงเรียนผู้สูงอายุสร้างระบบการดูแลสุขภาพสุขภาพและผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
|
80.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
|
0.00 | |
3 | เพื่อสร้างระบบสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
20 ก.พ. 68 - 4 ก.ย. 68 | พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต | 0 | 272,862.00 | - | ||
รวม | 0 | 272,862.00 | 0 | 0.00 |
- ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
- ผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
- โรงเรียนผู้สูงอายุสร้างระบบการดูแลสุขภาพสุขภาพ และผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2568 00:00 น.