โครงการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L3359-2-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมสร้างเสริมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาแดง |
วันที่อนุมัติ | 7 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 23,735.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายทรง ชุมพล |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางอุทัยวรรณ กำเหนิดฤทธิ์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.652,100.107place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 10-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รพ.สต.บ้านเขาแดง มีผู้ป่วย ปี 2563 มีผู้ป่วยจำนวน 1 ราย ปี 2564 จำนวน 3 ราย ปี 2565 จำนวน 0 ราย ปี 2566 จำนวน 5 ราย ปี 2567 จำนวน 11 ราย การควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว
ดังนั้นชมรมสร้างเสริมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาแดง มีความตระหนักถึงความสำคัญในการที่จะป้องกันให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน วัด ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุ จำนวนผู้ป่วยลดลง หรือไม่มีผู้ป่วยรายที่ 2 ภายใน 28 วัน (จากผู้ป่วยรายที่ 1) |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
17 ก.พ. 68 | กิจกรรมรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย | 55 | 6,875.00 | - | ||
17 ก.พ. 68 | - เมื่อมีผู้ป่วยในพื้น ดำเนินการควบคุมป้องกันโรค โดยการพ่นละอองฝอยในรัศมี 100 เมตร ในวันที่ 0,3,7 (นับจากวันที่ได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วย) - แจกโลชั่นทากันยุงในครอบครัวผู้ป่วยและบ้านใกล้ๆ รัศมี 100 เมตร - กรณีถ้าเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดเขาแดง ป่วยดำเนินการค | 0 | 6,000.00 | - | ||
1 - 31 มี.ค. 68 | 1. ค่าโลชั่นทากันยุง ขนาด 50 กรัม จำนวน 96 ขวดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 5,760 บาท 2. ค่าสเปรย์ป้องกันและกำจัดยุง ขนาด 300 กรัม จำนวน 60 กระป๋องๆละ 85 บาท เป็นเงิน 5,100 บาท | 0 | 10,860.00 | - | ||
รวม | 55 | 23,735.00 | 0 | 0.00 |
จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2568 14:53 น.