โครงการนวดกดจุดฝ่าเท้าและการแพทย์ทางเลือกเพื่อลดความอยากบุหรี่
ชื่อโครงการ | โครงการนวดกดจุดฝ่าเท้าและการแพทย์ทางเลือกเพื่อลดความอยากบุหรี่ |
รหัสโครงการ | 68-L-1505-1-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย |
วันที่อนุมัติ | 1 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนันทนา ไกรเทพ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอัจจิมา ขาวดี |
พื้นที่ดำเนินการ | ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปัญหาการติดบุหรี่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงและเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ซึ่งบุหรี่จัดเป็นยาเสพติดในประเภทกระตุ้นประสาทที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในด้านสาธารณสุขอย่างมาก บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังนำไปสู่สิ่งเสพติดอีกหลายชนิด บุหรี่ 1 มวน มีสารประกอบ 600 ชนิด เมื่อจุดไฟสูบจะก่อให้เกิดลารเคมี 7,000 ชนิด มีสารก่อมะเร็ง 69 ชนิดและสารพิษอีกมากมาย จากข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ระบุว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนเวลาที่ป้องกันได้ ซึ่งการสูบบุหรี่ทำให้คนไทยเสียชีวิตปีละ 51,651 คน หรือวันละ 141 คน โดยผู้ที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่อายสั้นลง 12 ปี และป่วยหนักโดยเฉลี่ย 2.5 ปีก่อนตาย ขณะที่การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น ความพยายามควบคุมอัตราการสูบบุหรี่ของ ประเทศไทยแนวทางหนึ่งคือการเพิ่มการจัดบริการเลิกบุหรี่ในสถานพยาบาลสาธารณสุข การเลิกบุหรี่ส่วนใหญ่ราวร้อย ละ 80 ของผู้สูบบุหรี่เลิกบุหรี่โดยใช้วิธีการหักดิบหรือเลิกด้วยใจ (ตั้งใจเลิกเอง) ซึ่งส่วนหนึ่งประสบความสำเร็จ แต่ส่วนหนึ่งมีการกลับมาสูบซ้ำ จำเป็นต้องมีกลวิธีให้เกิดความอยากเลิกและมีวิธีการกระตุ้นและช่วยสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ การนวดกดจุดสะท้อนเท้าช่วยเลิกบุหรี่ เป็นนวัตกรรมการประยุกต์ศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนเท้า ซึ่งมีผลงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. พบว่า การนวดกดจุดสะท้อนเท้าอย่างต่อเนื่องในผู้สูบบุหรี่ สามารถช่วยคนเลิกบุหรี่ได้ 30 เปอร์เซ็นต์และอีก 70 เปอร์เซ็นต์ลดปริมาณการสูบบุหรี่ จาก 14.8 มวน เหลือ 6.47 มวน นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อนวดกดจุดสะท้อนเท้าผู้สูบบุหรี่จะไม่อยากสูบบุหรี่ เพราะสูบบุหรี่แล้วจะเหม็น รสชาติขม จนสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ และบอกต่อเพื่อนๆ นักสูบ บุหรี่จะมีสารนิโคติน เมื่อเข้าไปในร่างกายก็จะไปจับกับเซลล์สมองให้หลั่งสารเคมีหรือฮอร์โมนออกมา เราจึงใช้จุดที่กระตุ้นสมองมาทำการนวด เมื่อนวดไปแล้วจะรู้สึกสมองเบาสบาย โดยจุดที่กดคือบริเวณนิ้วโป้งเท้า โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในแนวตั้งและแนวนอน และให้กดนวด 3 จุด หรือถ้าไม่รู้จุดก็สามารถนวดทั้งนิ้วโป้งเลยก็ได้ โดยให้กดไปเรื่อย ๆ ซึ่งผลงานในโครงการวิจัยพบว่า ถ้านวดต่อเนื่อง 10 วัน วันละ 1 ครั้ง ก็สามารถช่วยเลิกบุหรี่ได้ “การนวดเลิกบุหรี่เป็นแค่ผลพลอยได้แต่สิ่งที่ได้จริง ๆ คือสมองจะทำงานได้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นศาสตร์นี้เราสามารถนวดให้คนทุกเพศทุกวัย หรือคนที่เจ็บป่วยมีปัญหาปวดหัว รู้สึกตึงเครียด มึนงง เป็นหวัด คัดจมูก หรือภูมิแพ้ การนวดกดจุดสะท้อนเท้าสามารถช่วยได้ ส่วนคนที่ไม่สูบบุหรี่ก็สามารถนวดให้สุขภาพแข็งแรงได้” ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่ายได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการสูบบุหรี่จึงจัดทำโครงการนวดกดจุดฝ่าเท้าและการแพทย์ทางเลือกเพื่อลดความอยากบุหรี่ ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากบุหรี่ สามารถนำวิธีการปฏิบัติดังกล่าวเป็นแนวทางเพื่อการลดอัตราการสูบบุหรี่ในชุมชนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยที่ช่วยบำบัดรักษา ส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ทำให้เกิดการสร้างแรงจูงใจใช้ในผู้สูบบุหรี่ และสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้การนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่แก่แกนนำสุขภาพ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่ หลังอบรมผ่านเกณฑ์ประเมินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 |
0.00 | |
2 | เพื่อเพิ่มทักษะการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่แก่แกนนำสุขภาพ ประชาชนมีทักษะการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่ หลังอบรมผ่านเกณฑ์ประเมินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
22 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้เรื่องการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่แก่ประชาชน | 0 | 8,850.00 | - | ||
22 พ.ค. 68 | ฝึกทักษะการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่ | 0 | 4,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 12,850.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่ หลังอบรมผ่านเกณฑ์ประเมินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
- ประชาชนมีทักษะการนวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อลดความอยากบุหรี่ หลังอบรมผ่านเกณฑ์ประเมินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2568 13:37 น.