โครงการป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของประชาชน หมู่ที่ 3 บ้านควนยาง ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของประชาชน หมู่ที่ 3 บ้านควนยาง ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L-1505-2-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม. หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งค่าย |
วันที่อนุมัติ | 1 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเพชรรัตน์ ไชยเดช |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | บ้านควนยาง หมู่ที่ 3 |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด เป็นต้น ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูง ในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงยิ่งคัดกรองมากก็จะพบ กลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวทางแก้ไขต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรอง จากนั้นนำมาจัดกลุ่ม ดี เสี่ยง ป่วย ในกลุ่มป่วยต้องดำเนินการให้การรักษา ต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม แต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอ จึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน จากสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) หมู่ที่ 3 บ้านควนยาง ตำบลทุ่งค่าย อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ และอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อสม.หมู่ที่ 3 บ้านควนยาง จึงได้จัดทำ โครงการป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของประชาชน หมู่ที่ 3 บ้านควนยาง ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านควนยาง ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐานและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง พร้อมทั้งรณรงค์สร้างการดูแลสุขภาพให้มีพฤติกรรมที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความรู้ ครอบคลุมของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้น |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความรู้ ครอบคลุมของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
22 มิ.ย. 68 | คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง | 20,000.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและพบว่าเสี่ยงสูง ได้รับการส่งต่อพบแพทย์
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิต สูงรายใหม่ลดลง จากปี 2567
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม เจาะน้ำตาล และวัดความดันโลหิตที่บ้าน
- ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ความเข้าใจดังกล่าว ไปถ่ายทอดต่อผู้อื่นและชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2568 22:37 น.