โครงการสร้างเสริมด้านสุขภาพกาย และด้านโภชนาการ ผู้สูงอายุ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมด้านสุขภาพกาย และด้านโภชนาการ ผู้สูงอายุ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3009-03-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุตำบลกะมิยอ |
วันที่อนุมัติ | 24 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 21,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอามะ หะยีนิเงาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วน ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขี้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้น จำนวนผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากภาวะนี้ทำให้เกิดความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับ และให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขี้น จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆด้าน เช่น ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังหรือสังคมให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุน้อยลง ประกอบผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพ ทำให้ผู้สูงอายุที่มีความเปราะบางอยู่แล้วได้รับผลกระทบ ทั้งนี้หากผู้สูงอายุปรับตัว ได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เกิดความพึงพอใจในชีวิตแต่ถ้าไม่พร้อมหรือปรับตัวไม่ได้และไม่ดีพอ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว เหงา ถูกทอดทิ้ง มีความวิตกกังวล ท้อแท้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ รู้สึกคุณค่าในชีวิตลดน้อยลง ในการที่จะดูแลตนเองของผู้สูงอายุในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่เก้าตามปฏิทินอิสลามซึ่งเป็นปฏิทินทางจันทรคติ ที่ต้องมีการถืออดอาหาร หรือเรียกอีกอย่างว่า “ถือศีลอด” ซึ่งเป็นข้อบังคับเหนือมุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะ จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายคือต้วผู้สูงอายุเอง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และสมาชิกที่อยู่ร่วมในครอบครัวเดียวกัน ให้มีความรู้ความเข้าใจในโดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารและน้ำดื่ม ทำให้ยาที่อิงกับมื้ออาหาร หรือยาที่ต้องกินในช่วงเวลาที่นอกเหนือไปจากที่ศาสนาอนุมัตินั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย หลัก ๆ ที่สำคัญคือยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากยาเบาหวานที่ใช้กันเป็นหลักจะอิงกับมื้ออาหาร รวมทั้งอินสุลินด้วย ดังนั้นมื้ออาหารที่ปรับเปลี่ยนไปนั้นส่งผลกระทบต่อเวลาการบริหารยาเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอาหารที่รับประทานใน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุควรได้รับความรู้ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติศาสนากิจได้อย่างมีคุณภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวในการปรับเปลี่ยนการกินอาหารและน้ำดื่ม และการกินยาในช่วงเดือนรอมฎอน ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนการกินอาหารและน้ำดื่ม และการกินยาในช่วงเดือนรอมฎอน |
||
2 | เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และมีโภชนาการที่ดี ผู้สูงอายุได้รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะในช่วงเดือนรอมฎอน |
||
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีการช่วยเหลือกันในชุมชน ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีการช่วยเหลือกันในชุมชน |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 140 | 21,400.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุเรื่อง การเตรียมตัวในการปรับเปลี่ยนการกินอาหารและน้ำดื่ม และการกินยาในช่วงเดือนรอมฎอน และฝึกปฏิบัติการเรื่อง วิธีการดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรง การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ | 70 | 18,400.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าตอบแทนวิทยากร | 70 | 3,000.00 | - |
- ผู้สูงอายุมีความรู้ความการเตรียมตัวในการปรับเปลี่ยนการกินอาหารและน้ำดื่ม และการกินยาในช่วงเดือนรอมฎอน
- ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวและชุมชน
- ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและมีโภชนาการที่ดี สามารถอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุข
- เครือข่ายสุขภาพในชุมขนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
- ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 10:54 น.