โครงการลดเจ็บบรรเทาปวดจากเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการลดเจ็บบรรเทาปวดจากเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 68-L1516-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 14,740.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางยุวดี ลื่อเท่ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.651,99.459place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยปี 2556 ประชากรไทยมีจำนวน 64.6 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 9.6 ล้านคน คาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 26.3)และปี 2583 จะมีจำนวนถึง 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนสถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุ จากการประเมินสภาวะสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นด้วย จากการศึกษาภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาปวดข้อเข่า ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 43.95 ส่วนใหญ่อาการปวดข้อเข่ามีสาเหตุมาจาก ข้อเข่าเสื่อม ปัญหาปวดข้อเข่าทำ ให้ผู้สูงอายุ เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุลดลงเป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ทำให้สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก และส่งผลต่อร่างกายจากการใช้ยาแก้ปวดหรือวิธีการจัดการอาการ ปวดที่ไม่เหมาะสมความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้สูงอายุ ต้องหาวิธีการที่จะจัดการกับอาการโดยการซื้อยากินเอง ถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจมีอาการปวด ท้องและเลือดออกได้ อาการปวดข้อเข่าสามารถที่จะ บรรเทาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด เช่น การบริหารแบบ ไทยท่าฤๅษีดัดตนที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายหรือการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า มีผล ในการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการเดิน และลดความเจ็บปวดลงได้ผู้สูงอายุเมื่อมีอาการปวด จะไม่ขยับข้อข้างที่ปวด ส่งผลให้ไม่ออกกำลังกายหรือ บริหารกล้ามเนื้อรอบข้ออาการปวดหรือความ รุนแรงของโรคก็จะมีผลต่อความสามารถของผู้สูงอายุ ด้วย ดังนั้นเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาลและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางแพทย์แผนไทยให้อยู่ในระดับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในรักษามากขึ้น แบบครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | การตรวจคัดกรอง ผู้ป่วยเข่าเสื่อม จำนวน 35 คน ประเมินภาวะสุขภาพและการค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างถูกต้อง ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับการดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ผสมผสาน ร้อยละ 60 |
||
2 | การรักษา ฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ ความพึงพอใจของผู้มารับบริการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80 |
||
3 | ส่งเสริมการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน มีการใช้สมุนไพรในชุมชนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- รวบรวมข้อมูล/ปัญหา/กำหนดเป้าหมาย แผนงานโครงการ
- จัดทำโครงการขออนุมัติโครงการ
- ชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือ และผู้เข้าร่วมการอบรม
- จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ในการดำเนินงาน
- จัดอบรมแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเข่าเสื่อม ที่ได้รับการตรวจประเมินแล้ว ถ่ายทอดความรู้และรักษาโรคเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
- ผู้เข้าร่วมการอบรมทำแบบประเมินและทดสอบ pains score ผ่านแบบประเมิน
1.อาสาสมัคร ในชุมชน สามารถคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมทางคลินิกได้
2.ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเองได้
3.ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีอาการของโรคเข่าเสื่อมดีขึ้น
4.เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในการใช้สมุนไพรพื้นบ้านดูแลตนเอง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 13:37 น.