กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน, เด็กวัยเรียน 6-12 ปี, หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ รพ.สต.บ้านหนองคล้า

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน, เด็กวัยเรียน 6-12 ปี, หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ รพ.สต.บ้านหนองคล้า
รหัสโครงการ 68-L1516-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 19,923.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลักขณา หนูเริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 420 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 1084 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญ จากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กไทย อายุ 6 เดือน-12 ปี ระหว่าง 1 ตุลาคม-30 กันยายน 2566 พบภาวะเด็กปฐมวัยมีภาวะโลหิตจางสูง ร้อยละ 36.8 โดยเด็กในเขตชนบทมีปัญหามากกว่าเด็กในเมืองถึงสองเท่า ในเขตชนบท ร้อยละ 41.7 และเขตเมือง ร้อยละ 26.0 และจากรายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย พบความชุกโลหิตจางในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-44 ปี ร้อยละ 24.8 ส่วนแนวโน้มความชุกโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ลดลงเรื่อย ๆ ร้อยละ 15.6 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 14) ถึงแม้ในภาพรวมจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ในหลายพื้นที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ดีเท่าที่ควร จึงยังคงติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อยู่อย่างต่อเนื่อง ปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรคดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน, เด็กวัยเรียน 6-12 ปี หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์
        ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันภาวะโลหิตจาง ในเด็กอายุ 6-12 เดือน, เด็กวัยเรียน 6-12 ปี, หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2568 เพื่อช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในการดูแลและให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

 

2 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มเป้าหมายต่างๆตามที่กำหนด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในการดูแลและให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มเป้าหมายต่างๆตามที่กำหนด

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ

  1. ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน

  2. เขียนโครงการเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อขออนุมัติโครงการ

ขั้นดำเนินการ

  1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ (อสม.) เกี่ยวกับโรคโลหิตจาง ภาวการณ์การเกิดโรคและการดูแลป้องกันภาวะโลหิตจาง

  2. กิจกรรมเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประเมินภาวะโลหิตจางและจ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก

  3. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

ขั้นประเมินผล

  1. แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันภาวะโลหิตจางและมีแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง

  2. เด็ก 6-12 เดือน ได้รับการตรวจเลือดคัดกรองภาวะโลหิตจางและพบภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 20

  3. เด็กวัยเรียน ได้รับการตรวจคัดกรอง (ป.1 ทุกคน) ภาวะโลหิตจาง และได้จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 100

  4. หญิงวัยเจริญพันธุ์ ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง และพบภาวะโลหิตจาง ไม่เกินร้อยละ 15

  5. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ และอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเองและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

๒. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการดูแลและป้องกันภาวะโลหิตจาง โดยการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 14:24 น.