โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะข้อเข้าเสื่อม ด้วยวิถีแพทย์แผนไทยปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะข้อเข้าเสื่อม ด้วยวิถีแพทย์แผนไทยปี 2568 |
รหัสโครงการ | L5248-68-02-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.ปริก |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 23,970.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกานดา พรหมร่วมแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.694,100.473place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ สำคัญ พบมากในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ ซึ่งมี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่า เสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่าง เหมาะสม โรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ อาจทำให้มีความ เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติ กิจวัตรประจำวันต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก จะมีความ ทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หากประชาชนหรือผู้ที่เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ สามารถดูแล ตนเองเพื่อชะลอความเสื่อม หรือบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อม ก็จะส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมที่พบได้บ่อยมาก ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนัก ที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น จากสถานการณ์พบว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดผู้ทุพพลภาพในวัยสูงอายุในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้อ อันก่อให้มีอาการปวดจากผิวข้อชำรุดและการอักเสบหากเป็นต่อเนื่อง ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมรุนแรง ช่องว่างผิวข้อหายไป และกระดูกอ่อนผิวข้อชำรุดไปหมด หรือกระดูกปลายข้อทรุดตัว ทำให้เข่าโก่งมากขึ้นได้ ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยาในการรักษาภาวะข้อเสื่อมนี้เป็นจำนวนมากรองจากยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะยาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นการรักษาอาการปวดที่ปลายเหตุเสียมากกว่าและมักจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูง
ประชากรหมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 7 ตำบลปริก จำนวน 4,366 คน ปัจจุบันมีกลุ่มวันแรงงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ ต้องใช้แรงงานหนักในการประกอบอาชีพ จึงมีปัญหาปวดข้อเข่าและปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นประจำ ที่ เมื่อเทียบสัดส่วนถือว่ามีจำนวนมากขึ้นซึ่งเปรียบเทียบกับประชากรช่วงอายุต่าง ๆ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต่อไปจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นผู้สุงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมต่อไป เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ดังนั้นเพื่อให้ทั้งกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคข้อเข่าเสื่อมและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ชมรมอสม.รพ.สต.ปริก จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะข้อเข้าเสื่อม ด้วยวิถีแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้อสม.สามารถคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงข้อเข้าสื่อมในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุได้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ อสม.สามารถคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงข้อเข้าสื่อมในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุได้ อย่างถูกต้อง อสม.สามารถคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงข้อเข้าสื่อมในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุได้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ อสม.สามารถคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงข้อเข้าสื่อมในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุได้ อย่างถูกต้อง |
||
2 | เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้รับการรักษา และบำบัดตามวิถีแพทย์แผนไทยอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้รับการรักษา และบำบัดตามวิถีแพทย์แผนไทยโดยผู้ทีมีความรู้เฉพาะทางที่ถูกวิธี ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้รับการรักษา และบำบัดตามวิถีแพทย์แผนไทยอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้รับการรักษา และบำบัดตามวิถีแพทย์แผนไทยโดยผู้ทีมีความรู้เฉพาะทางที่ถูกวิธี |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้อสม.สามารถคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงข้อเข้าสื่อมในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุได้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ อสม.สามารถคัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงข้อเข้าสื่อมในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุได้ อย่างถูกต้อง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้รับการรักษา และบำบัดตามวิถีแพทย์แผนไทยอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้รับการรักษา และบำบัดตามวิถีแพทย์แผนไทยโดยผู้ทีมีความรู้เฉพาะทางที่ถูกวิธี |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1 เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก
2 ประสานงานกับโรงพยาบาลสะเดา เพื่อขอสนับสนุนวิทยากร และเวชภัณฑ์ในการพอกข้อเข่า
3 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่
4 จัดอบรมตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้
๕. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก
- อสม.ได้รับการอบรมฟื้นฟูความรู้ และสามารถคัดกรองประเมินสุขภาพภาวะเสี่ยงข้อเข้าสื่อมในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง
- อสม.สามารถให้ความรู้และคำแนะนำแก่มในกลุ่มวัยวัยแรงงานและผู้สูงอายุ ในการป้องกันและดูแลป้องกันตนเองไม่ให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม
- ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพของตนเอง
- ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้รับการรักษาและบำบัดตามวิถีแพทย์แผนไทยอย่างถูกวิธี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 15:28 น.